World Medical Hospital (WMC), Thailand

Language


ปวดกล้ามเนื้อ ติดเชื้อโควิด??

 

ปวดกล้ามเนื้อ ติดเชื้อโควิด??

เนื่องจากอาการปวดกล้ามเนื้อ จัดเป็นหนึ่งในอาการที่  "พบได้ขณะที่ติดเชื้อโควิด-19"

อย่างนี้ เราจะรู้อย่างไร ? ว่าอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้น มาจากการติดเชื้อโควิด-19 หรือเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วไป

 

1. ในกรณีติดเชื้อโควิด-19 อาการปวดกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดเชื้อเท่านั้น โดยส่วนมากอาการจะเป็นต่อเนื่องประมาณ 2-3 วัน แต่บางส่วนอาจมีอาการยาวนานกว่านั้น (ในผู้ใหญ่อายุ 35 ปีขึ้นไป อาการปวดกล้ามเนื้ออาจยาวนานประมาณ 1 สัปดาห์)

 

2. 1 ใน 3 หรือคิดเป็น 30% ของคนไข้ที่ติดเชื้อโควิดจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ

- ในเด็กพบ 15%                                        

- อายุ 16-65 ปี พบ 41%                             

- อายุมากกว่า 65 ปี พบ 36%      

                 

3. ถ้าติดเชื้อโควิด-19 อาการปวดกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ อาทิ ไข้, ปวดศีรษะ, ไอ, น้ำมูก, จมูกไม่สามารถรับกลิ่นได้ตามปกติ รวมถึงอาการอ่อนเพลียหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนั้น จึงต้องทำการสังเกตตนเองว่ามีอาการดังกล่าวร่วมด้วยหรือไม่ครับ

การติดเชื้อ โควิด-19 ทำให้ปวดกล้ามเนื้อได้อย่างไร?

 

สาเหตุหลักมาจากปัจจัยสองอย่างดังต่อไปนี้ครับ

1. ไวรัสก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นใยกล้ามเนื้อโดยตรง

2. ไวรัสกระตุ้นให้เกิด “สารก่อการอักเสบ” ขึ้นในร่างกาย จึงไปกระตุ้นให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อทางอ้อม

 

โดยสรุปแล้ว อาการปวดกล้ามเนื้อจากการติดเชื้อ โควิด-19 รักษาอย่างไร?

1. พักผ่อนและงดออกกำลังกาย

2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

3. รับประทานยาพาราเซตามอล (กรณีจำเป็น)

 

กรณีติดเชื้อโควิด-19 หากสามารถลดอาการปวดกล้ามเนื้อลงได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีขึ้นแน่นอนครับ หมอหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ความรู้ และช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อที่จะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย

 

บทความโดย

นพ.เกรียงศักดิ์  เล็กเครือสุวรรณ  

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านคลินิกระงับปวด และผ่าตัด ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่

ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง ชั้น 2 

โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC)

โทร 02-836-9999 ต่อ 2621-2