โรคเบาหวาน (Diabetes) และโรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะการเกิดโรคหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะสามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
“เบาหวาน”ส่งผลต่อ “หัวใจ” อย่างไร?
- ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็งตัว ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานทำให้เกิดการสะสมของไขมันและคราบหินปูนในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้
- เพิ่มความดันโลหิต ผู้ป่วยเบาหวานมักมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นและเพิ่มโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
- ไขมันในเลือดผิดปกติ คนที่เป็นเบาหวานมักมีระดับไขมัน LDL (ไขมันไม่ดี) สูง และระดับ HDL (ไขมันดี) ต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจ
- ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ภาวะนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบในร่างกายและทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
- เส้นประสาทถูกทำลาย ผู้ป่วยเบาหวานบางคนอาจมีเส้นประสาทเสียหาย ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บหน้าอกแม้มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยเบาหวานจึงมักตรวจพบโรคหัวใจในระยะที่รุนแรงแล้ว
“การตรวจสุขภาพหัวใจ” ที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- วัดความดันโลหิต ผู้ป่วยเบาหวานมักมีความดันโลหิตสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS, HbA1c) เป็นการตรวจเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งมีความสำคัญในการ คัดกรอง วินิจฉัย และติดตามโรคเบาหวาน รวมถึงการควบคุมระดับน้ำตาลให้เหมาะสม
- ตรวจไขมันในเลือด (Lipid Profile) ตรวจเพื่อประเมินระดับไขมันต่าง ๆ ในกระแสเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อการลดความเสี่ยงของ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะภาวะหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจขาดเลือด
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG – Electrocardiogram) การตรวจ ECG เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการตรวจสอบ สัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ เพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด และปัญหาทางไฟฟ้าหัวใจอื่น ๆ
- ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram หรือ Echo) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ, โครงสร้างของหัวใจ, และการทำงานของลิ้นหัวใจ
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) เป็นการทดสอบที่ช่วยประเมินการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพื่อดูว่าหัวใจสามารถทนต่อความเครียดที่เกิดจากการออกกำลังกายได้ดีแค่ไหน โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหรืออาการที่อาจเกิดจากปัญหาหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก หรือเหนื่อยง่ายผู้ป่วยเบาหวาน

สัญญาณเตือน! โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน
- เจ็บแน่นหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนถูกกดทับบริเวณอก
- หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
- ใจสั่น หน้ามืด เวียนหัว
- เท้าบวมจากภาวะหัวใจล้มเหลว
แนวทางป้องกันและดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง และโซเดียมสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- เลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์
- ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อติดตามค่าความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือด
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีอาการผิดปกติ แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจ ทุก 6 เดือน แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคไต ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ใจสั่น หรือเหนื่อยง่ายผิดปกติ
โรคเบาหวาน สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้หลายเท่าตัว การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำสามารถช่วยให้พบปัญหาได้เร็วขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การควบคุมน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันอย่างเหมาะสม รวมถึงการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงได้
แพ็กเกจแนะนำ
กิจกรรม “วัยเก๋า ไม่เหงา เรามีเพื่อน” รุ่น 2 จองด่วน! เพียง 1,500 บาทเท่านั้น
สิทธิประกันสังคม ม.33 และ 39 รักษาโรคหัวใจ 7 หัตถการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้องสำรองจ่าย
ผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนัก
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingrix Vaccine)
แพ็กเกจ ตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
รักษาก้อนเต้านม ด้วยการจี้เย็น (Cryoablation)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 15 สายพันธุ์
แพ็กเกจ รักษาภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย (Enantone)
แพ็กเกจ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Liquid Prep Test)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
รักษาภูมิแพ้ น้ำมูกไหลเรื้อรัง ด้วยการจี้เย็น (Nasal Cryosurgery)
แพ็กเกจ Health Check
บทความสุขภาพอื่นๆ
หัวใจโต โรคใกล้ตัวที่คุณต้องรู้
“โรคหัวใจ” ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในผู้ป่วยเบาหวาน
“ปวดขา” หลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน แผ่นดินไหว? แพทย์แนะวิธีดูแลกล้ามเนื้ออักเสบที่คุณทำเองได้
ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Total Knee Arthroplasty )
“แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ในเด็ก”…ตัวช่วยป้องกันฟันผุ
เทคโนโลยีใหม่! อองโคเทอร์เมีย (Oncothermia) ทางรอดผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
ทำไม? ค่า HbA1c ในผลตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญ
รักษามะเร็งปากมดลูกด้วย Oncothermia: นวัตกรรมคลื่นความร้อนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
ไขข้อสงสัย: ความแตกต่างของ “โพรไบโอติก VS พรีไบโอติก”คือ ?
มาทำความรู้จัก “ไข้อีดำอีแดง”
โรคเก๊าท์…ภาวะที่ทำให้เราปวดข้อ!
วัคซีน “ไข้หวัดใหญ่” ในเด็กและผู้ใหญ่ ฉีดต่างกันอย่างไร?
อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ รับประทานอย่างไร ให้ห่างไกลโรค
“รูมาตอยด์” โรคข้ออักเสบที่ไม่ควรมองข้าม
“การรักษามะเร็งลำไส้ ด้วยเครื่องอองโคเทอร์เมีย”
โรคที่ไม่ควรมองข้าม “เดอกาแวง” โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
ไวรัสโรต้า อันตรายใกล้ตัวลูกรัก
hMPV เชื้อไวรัสตัวร้าย ที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง
รู้ทันสัญญาณอันตราย “ โนโรไวรัส (Norovirus) “
รู้ทัน “ไวรัสอะดิโน (Adenovirus)” โรคใกล้ตัวลูกน้อย
VDO ความรู้สุขภาพ
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
บทความโดย

แพทย์หญิง กาญจนา อักษรวรนารถ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์หัวใจ (Heart Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC )
โทร 02-836-9999 กด 2 หรือ *2821