ปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน ทำให้เกิดความตึงเครียด, วิตกกังวล ต่อคนหลาย ๆ คนไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม โดยมีโรคที่อาจตามมากับความเครียดได้ก็คือ โรคปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือออฟฟิศซินโดรม เพราะอะไร และ จะป้องกันได้อย่างไร เดี๋ยวหมอเล่าให้ฟังครับ
ความเครียดหรือ วิตกกังวล ทำให้เกิดการปวดคอ, บ่า, ไหล่, หลัง ได้อย่างไร?
โดยปกติกล้ามเนื้อคอ, บ่า ต้องรับน้ำหนักศรีษะ ซึ่งหนักราว ๆ 7 กิโลกรัม เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน กล้ามเนื้อหลังก็ต้องรับน้ำหนักตัว และศรีษะเช่นกัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นเกิดความตึงตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ความเครียดหรือความวิตกกังวลจะมีผลทางอ้อม กับกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่อยู่รอบ ๆ กระดูกสันหลัง, คอ, บ่า, ไหล่ โดยทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวอยู่ แสดงอาการปวดออกมาได้ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด, ตึง, ล้า ไปจนถึงอ่อนแรง
ซึ่งหากมีทั้งกล้ามเนื้ออักเสบและความเครียดทั้งสองสิ่งประกอบกัน จะส่งผลให้อาการปวดเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนบางครั้งไม่สามารถทำงานได้ หรือทำงานได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม นอกจากนี้ หากความตึงตัวและความเครียดเหล่านี้คงอยู่นาน จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง บางครั้งปวดลามไปที่ท้ายทอย, ศรีษะ หรือบริเวณรอบ ๆ เบ้าตา คล้ายกับ “อาการปวดไมเกรน” ได้ การปล่อยให้ปวดเรื้อรังนอกจากจะส่งผลให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ในผู้ป่วยบางรายอีกด้วย
ถ้าอาการเป็นไม่มาก หรือ เพิ่งเริ่มเป็น หมอมีคำแนะนำเพื่อลดอาการปวดเหล่านี้ครับ
5 วิธีง่าย ๆ ลดปวด ลดตึง อย่างได้ผล
- ยืดกล้ามเนื้อคอ จะช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอ และยังช่วยลดอาการปวดคอรวมไปถึงอาการปวดร้าวไปที่ท้ายทอยและขมับได้ การยืดกล้ามเนื้อคอ สามารถทำได้ง่าย ๆ ในที่ทำงาน สามารถทำได้ด้วยตนเอง ใช้เวลาไม่ถึงสองนาที วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่หมอแนะนำที่สุดครับ
- การนวดเบา ๆ ที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ สามารถช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ, ผ่อนคลาย, ลดอาการปวดร้าวไปยังศรีษะ, ท้ายทอย และบริเวณบ่าไหล่ได้ นอกจากนี้การใช้ความร้อนที่เหมาะสมเข้าช่วยร่วมกับการนวด จะทำให้กล้ามเนื้อลดการตึงตัวได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ปรับอุปกรณ์และท่านั่งทำงานให้เหมาะสม เพราะท่านั่งทำงานคือปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับโรคออฟฟิศซินโดรม การนั่งทำงานหรือใช้คอมพิวเตอร์ผิดท่าเป็นเวลานาน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อ คอ, บ่า, ไหล่, หลัง ทำงานอย่างหนัก จนเกิดการอักเสบขึ้นได้ เคล็ดลับง่าย ๆ อย่างหนึ่งก็คือ การปรับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสมกับโต๊ะทำงานและนั่งให้เท้าทั้งสองข้างสัมผัสพื้นอยู่เสมอ จะช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ถ้าเท้าไม่สามารถแตะพื้นได้ อาจต้องใช้ที่พักเท้าช่วยครับ
- พักและยืด หมอแนะนำให้ผู้อ่านพักจากท่าการทำงานทุก ๆ 1 ชั่วโมง โดยพักประมาณ 3-5 นาที ระหว่างพัก ให้ทำงานยืดกล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อหลัง ดื่มน้ำเปล่า หันมองไกล ๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ จะช่วยทำให้ร่างกายและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี
- อย่างปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะจะทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อได้ง่ายขึ้น การดื่มน้ำจะช่วยให้เกิดสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย สงผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างที่มีผลต่อการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น การสูบบุหรี่, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ดื่มกาแฟก่อนนอน ซึ่งจะเพิ่มการตึงตัวของกล้างเนื้อและทำให้กล้ามเนื้ออักเสบหายได้ยากมากขึ้น
ลองปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ข้อ ง่าย ๆ นี้ดูนะครับ หมอเชื่อว่าอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม จะลดลงไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน พยายามสังเกตตนเองอย่าปล่อยให้อาการเป็นมาก หรือเป็นยาวนานกว่า 2 สัปดาห์ เพราะจะรักษาได้ยาก และบางครั้งเป็นเรื้อรังได้ ถ้าอาการแย่ลง หรือ ไม่ดีขึ้น แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้องต่อไปครับ วันนี้หมอลาไปก่อน อย่าลืมดื่มน้ำและพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยลดความเครียดของร่างกายได้นะครับ
แพ็กเกจแนะนำ
ํYear End Sale มหกรรมสุขภาพและความงามลดสูงสุดกว่า 70% : 1-31 ธันวาคมนี้
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ฟอกไต อุ่นใจ ทุกสิทธิการรักษา เลือกโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
แพ็กเกจ จัดฟันใส
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
สิทธิประกันสังคม ม.33 และ 39 รักษาโรคหัวใจ 7 หัตถการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้อสำรองจ่าย
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingrix Vaccine)
แพ็กเกจ ตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหลังการรักษาโควิด-19
รักษาก้อนเต้านม ด้วยการจี้เย็น (Cryoablation)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 15 สายพันธุ์
แพ็กเกจ รักษาภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย (Enantone)
แพ็กเกจ Teslasculpt 4D
บทความสุขภาพอื่นๆ
“ไอกรน” โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่ต้องรู้จักและป้องกัน
เทคโนโลยี Oncothermia กับการรักษาโรคมะเร็งตับ การผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับการรักษาแผนปัจจุบัน
สัญญาณเตือน! โรคเบาหวานขึ้นตา
ปัญหาใหญ่หญิงสูงวัย “ช่องคลอดหย่อน” เป็นแล้วรักษาอย่างไร?
โรคภูมิแพ้ขึ้นตา อันตรายกว่าที่คิด
การรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วย Oncothermia : ทางเลือกใหม่ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ ความเจ็บปวดใกล้ตัวผู้หญิง
ทำไม? เราถึงควรฉีดวัคซีน HPV
ฝ้าบนใบหน้า มีกี่ชนิด?
“Nasal Cryosurgery” รักษาภูมิแพ้ด้วยความเย็น
“Oncothermia” เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง
เช็กด่วน! ปวดประจำเดือนมากจนผิดสังเกตอาจเสี่ยงโรคอะไรบ้าง?
“โรคหนองใน” โรคที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก ผ่านกล้อง Endoscope
การใช้ออกซิเจนแรงดันสูง (HBOT) ในการรักษามะเร็ง
การใช้วิตามินซีความเข้มข้นสูง(Megadose vitamin C) ในการรักษามะเร็ง
บอกลา “แผลเป็นคีลอยด์”
โรคหนังตาตกในผู้สูงอายุ
ถุงใต้ตาเจ้าปัญหา!
ระวัง! โรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก พบบ่อยช่วงหน้าร้อน
VDO ความรู้สุขภาพ
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
บทความโดย
นายแพทย์ เกรียงศักดิ์ เล็กเครือสุวรรณ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านคลินิกระงับปวด และผ่าตัด ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง (Advanced Orthopedics Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02-836-9999 กด 4 หรือ *2621-2