โรคลมพิษ เป็นโรคที่ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย มีอาการคัน เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว โดยที่แต่ละผื่นมักจะคงอยู่ไม่นาน มักไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นนั้นก็จะราบหายไปโดยไม่ทิ้งรอยดำ แต่ก็อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่นได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีตาบวมหรือริมฝีปากบวมได้ บางรายอาจมีอาการปวดท้อง แน่นจมูก คอ หายใจไม่สะดวก รายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการหอบ หรือเป็นลมจากภาวะความดันโลหิตต่ำได้ แต่ก็พบน้อยมาก
โรคลมพิษแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
• ลมพิษเฉียบพลัน เป็นมาไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก อาหาร ยา การติดเชื้อ
• ลมพิษเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์
สาเหตุของโรคลมพิษ
• อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูด สีผสมอาหารบางชนิด
• ยา
• การติดเชื้อ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือพยาธิ
• โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์
• อิทธิพลทางกายภาพ ผู้ป่วยบางรายมีปฏิกิริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น น้ำหนักกดรัด แสงแดด การออกกำลังกาย เป็นต้น
• การแพ้สารที่สัมผัส เช่น การแพ้ยาง (latex) ขนสัตว์ พืช อาหารบางชนิด
• ปฏิกิริยาแพ้พิษแมลง เช่น ปฏิกิริยาที่เกิดจากผึ้ง ต่อต่อย
• มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบอื่น ๆ ของร่างกาย
• ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง
• ไม่มีสาเหตุ ผู้ป่วยลมพิษจำนวนมาก แม้ว่าแพทย์จะได้พยายามตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียดแล้ว แต่ก็ยังหาสาเหตุไม่พบ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่มากพอที่จะอธิบายหาสาเหตุได้ทั้งหมด
ดังนั้น ผู้ป่วยลมพิษจึงควรพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ ซึ่งหากพบสาเหตุที่ก่อให้เกิดลมพิษและหลีกเลี่ยงหรือรักษาสาเหตุนั้นได้ จะทำให้โรคลมพิษสงบลงหรือหายขาดได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้จากประวัติและการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุ หรือทำในรายที่เป็นลมพิษเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาปกติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น
• ตรวจเลือด
• ตรวจอุจจาระ
• เอกซเรย์ปอด
• ตรวจฟัน
การทดสอบภูมิแพ้
• การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังโดยวิธีสะกิด (skin prick testing, SPT)
• เจาะเลือดตรวจ serum specific IgE
ทั้งสองวิธี เป็นการตรวจหาการแพ้ชนิด IgE-mediated อย่างไรก็ตาม ผลบวกจากการทดสอบนี้ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยว่า อาการทางคลินิกนั้นจะเกิดจากแพ้สารตัวนี้เสมอไป จำเป็นต้องแปลผลร่วมกับอาการทางคลินิกของผู้ป่วยร่วมด้วยเสมอ
การวินิจฉัยการแพ้อาหาร
เนื่องจากปฏิกิริยาต่ออาหาร อาจเกิดได้ทั้งกลไกที่เกี่ยวข้องกับ IgE ( IgE-mediated) และกลไกที่ไม่เกี่ยวข้องกับ IgE (non-IgE-mediated reaction) ดังนั้น Gold standard ในการวินิจฉัยการแพ้อาหาร คือการทำ double-blinded, placebo-controlled food challenge (การทดลองกินอาหารแบบปกปิด)
การวินิจฉัยการแพ้อาหารที่เป็น IgE-mediated reaction ทำได้โดย skin prick testing หรือเจาะเลือดตรวจ serum specific IgE ซึ่งก็ต้องระมัดระวังในการแปลผลอย่างที่ได้กล่าวไป
ส่วนการตรวจ specific serum IgG ต่ออาหารน้ันไม่มีประโยชน์ และทำให้การแปลผลผิดพลาดได้
การรักษาโรคลมพิษ
• พยายามหาสาเหตุ เพื่อรักษาหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ หากทำได้
• ยาต้านฮีสตามีน โดยยาต้านฮีสตามีนมีหลายชนิด หลายกลุ่ม มีทั้งที่ออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาว ทั้งที่ง่วงและไม่ง่วง การจะเลือกใช้ยาต้านฮีนตามีนตัวใดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ การตอบสนองต่อยาต้านฮีสตามีนในผู้ป่วยแต่ละรายอาจไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยบางรายใช้ยาเพียงตัวเดียวก็ได้ผลดี แต่บางรายแพทย์อาจต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน เพื่อควบคุมอาการ
• ยาอื่นๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่นที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างและหลั่งสารสื่อกลางในผิวหนังที่เป็นตัวก่อให้เกิดผื่นลมพิษ
การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคลมพิษ
ผู้ป่วยลมพิษที่ผื่นเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มลมพิษเฉียบพลัน ที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง มีหน้าบวม ตาบวม ปากบวมมาก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการเหล่านี้ เช่น อาการแน่นหน้าอก เกิดจากมีการบวมของเยื่อบุทางหายใจ อาจทำให้เกิดอาการหอบ จนถึงแก่ชีวิตได้
ในผู้ป่วยที่มีเฉพาะผื่นลมพิษที่ผิวหนังควรปฏิบัติตัวดังนี้
• งดสิ่งกระตุ้นให้เกิดผื่นลมพิษตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
• มียาต้านฮีสตามีนติดตัวไว้เสมอ เมื่อเกิดอาการจะได้ใช้ได้ทันที
• ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด
• ไม่แกะเกาผิวหนัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการเกา
• รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากยาทำให้เกิดอาการง่วงซึม จนรบกวนการทำงานควรแจ้งแพทย์เพื่อเปลี่ยนยา
การพยากรณ์โรค
• ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน ที่หาสาเหตุและแก้ไขได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮีสตามีน ผื่นลมพิษมักหายได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่หาสาเหตุได้ไม่ชัดเจน ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องไปจนเป็นลมพิษเรื้อรัง
• ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเรื้อรัง ที่ได้รับการสืบค้นจนทราบสาเหตุและแก้ไขสาเหตุได้ เมื่อรับประทานยาต้านฮีสตามีน ผื่นลมพิษมักหายได้เช่นเดียวกับกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน แต่ถ้าหาสาเหตุไม่พบหรือเป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้โดยง่าย โรคมักเรื้อรัง แพทย์จำเป็นต้องให้ยาตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป เพื่อควบคุมอาการผื่นลมพิษให้ได้ เมื่อควบคุมอาการได้แล้ว แพทย์จะค่อยๆ ลดยาลงเพื่อควบคุมโรคในระยะยาว และพยายามหยุดยาถ้าทำได้ ผู้ป่วยบางรายโรคอาจเรื้อรังเป็นปี อย่างไรก็ตามผื่นลมพิษชนิดเรื้อรังส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรง ผู้ป่วยและญาติไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป
การวินิจฉัย
ในเบื้องต้น แพทย์มักวินิจฉัยผื่นกุหลาบด้วยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดความผิดปกติ หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน แพทย์อาจสั่งตรวจด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น
• เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ บริเวณที่เป็นผื่นแล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเชื้อรา เพราะผู้ป่วยบางรายอาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่นที่มีอาการคล้ายผื่นกุหลาบ
• ตรวจเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อซิฟิลิส ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดแผลหรือผื่นตามร่างกายคล้ายผื่นกุหลาบ
• ในบางกรณีที่ผื่นไม่มีลักษณะสำคัญที่ทำให้วินิจฉัยจากอาหารได้ อาจต้องใช้การตัดชื้นเนื้อผิวหนังตรวจ เช่น กรณีเป็น Atypical pityriasis rosea
วิธีการรักษาผื่นกุหลาบ
ผื่นกุหลาบ ไม่ใช่โรคติดต่อ โดยปกติแล้วอาการผื่นกุหลาบมักจะหายไปได้เองภายใน 2-12 สัปดาห์ การรักษาเป็นแบบการประคับประคองตามอาการเป็นหลัก
การใช้ยารักษา
• ยารับประทานแก้แพ้กลุ่ม Antihistamine ใช้เพื่อลดอาการคันที่ผิวหนัง
• ยาปฏิชีวนะและยาต้านไวรัสที่มีรายงานการใช้ คือ erythromycin 250mg วันละ4ครั้ง หรือ acyclovir 800mg วันละ5ครั้ง เป็นเวลา1สัปดาห์ ซึ่งพบว่าสามารถลดระยะเวลาการเกิดผื่นได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการผื่นมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น ไข้ ผื่นขึ้นเยอะมากทั่วตัว และต้องประเมินโอกาสการเกิดผลข้างเคียงของยาในผู้ป่วยร่วมด้วย
• ครีมบำรุงผิว(Moisturizer) ใช้เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวบริเวณที่เกิดผื่น
• ยาทาในกลุ่ม Steroidใช้เพื่อลดการอักเสบของผิวหนัง
• และในบางรายที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจต้องรับการรักษาด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลตบี (UVB Light Therapy) เพื่อช่วยให้อาการของโรคทุเลาลง
การดูแลตัวเองสำหรับโรคผื่นขุยกุหลาบ
• อาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ และหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน หรือน้ำอุ่นจัด
• เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวสูตรอ่อนโยน และไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม
• หลีกเลี่ยงการเกาผื่น ถูผื่นแรงๆ และตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจากการเกา
• สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และไม่ก่อให้เกิดการเสียดสีระคายเคืองต่อผิวหนัง
• หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อน เพราะสภาพอากาศที่อบอ้าว และการมีเหงื่อออกมากอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
นอกจากนี้ หากผู้ป่วยบางรายสังเกตตัวเองว่า มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นได้บ่อย ก็อาจหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้นๆ เช่น ยาบางชนิด อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง เหงื่อ สิ่งแวดล้อมบางอย่าง เป็นต้น
การป้องกันโรคผื่นขุยกุหลาบ
ยังไม่มีวิธีการป้องกันโรค เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้อย่างแน่ชัด
ผื่นกุหลาบ สามารถพบได้ตลอดทั้งปี โดยส่วนใหญ่มักพบบ่อยในช่วงฤดูฝน อาจเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลง เป็นโรคที่ไม่รุนแรง หายไปได้เองภายใน 2-12 สัปดาห์ การทราบถึงตัวโรคและสาเหตุ รวมถึงคำแนะนำในการปฏิบัติตนและพยากรณ์โรค จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจภาวะที่เป็นมากขึ้น ไม่เครียดไม่กังวลจนเกินไป การรักษาตามอาการ เช่น ยารับประทานลดอาการคัน หรือยาทากลุ่ม Steroid จะช่วยบรรเทาอาการคันได้
แพ็กเกจแนะนำ
บทความสุขภาพอื่นๆ
VDO ความรู้สุขภาพ
บทความโดย
ศูนย์ผิวหนัง ชั้น 4
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์ผิวหนัง (Advance Skin Center) ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ( WMC )
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4521-2