- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับเรา
- บริการของเรา
- ศูนย์การรักษา
- ศูนย์บริการลูกค้าต่างประเทศ
- บริการรถพยาบาลฉุกเฉิน
- คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย
- ห้องพักผู้ป่วย
- ห้องพิเศษเดี่ยว Superior Room
- ห้องพิเศษเดี่ยว VIP Room
- ห้องพิเศษเดี่ยว Superior Room (เด็ก)
- ห้องดูแลผู้ป่วยวิกฤตด้านหัวใจ (CCU)
- ห้องไอซียู (ICU)
- ห้องไอซียู ICU Isolation (Negative Pressure)
- ห้องอภิบาลผู้ป่วยกึ่งวิกฤต ICU Intermediate
- ห้องอภิบาลผู้ป่วยกึ่งวิกฤตทางด้านระบบหัวใจ CCU Intermediate
- ห้องย้ายเด็กอ่อน (Nursery Rooom)
- ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต (NICU)
- ค้นหาแพทย์
- ประกันที่เข้าร่วม
- เวิลด์ฟู้ดฮอลล์
- แพ็กเกจและโปรโมชั่น
- ข้อมูลด้านสุขภาพ
- ติดต่อเรา
ศูนย์สมดุลฮอร์โมน
ศูนย์สมดุลฮอร์โมน โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ให้บริการตรวจวินิจฉัยระดับความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงภาวะหรืออาการผิดปกติต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเช่น ระบบการเผาผลาญในร่างกายลดลง ปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น นอนหลับยาก หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ผิวแห้งกร้านหมองคล้ำ ไม่สดใส ความต้องการทางเพศลดลง โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้การดูแลรักษา ด้วยการปรับฮอร์โมนให้เข้ากับปัญหาสุขภาพ รวมทั้งให้คำแนะนำการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
- ที่ตั้งศูนย์
ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
- เวลาทำการ
–
- ช่องทางติดต่อ
โทร 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ตรวจสุขภาพ
บริการและการรักษา
บริการและการรักษา
ให้บริการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของฮอร์โมนด้วยโปรแกรมสมดุลฮอร์โมน ได้แก่
- ตรวจสุขภาพโดยแพทย์
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
- ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ
- ตรวจระดับฮอร์โมนความสุข (ฮอร์โมนต้านความเครียด)
- ตรวจระดับโกรทฮอร์โมน
- ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย/หญิง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup
ฮอร์โมนหลักที่มีผลต่อร่างกาย
- Estrogen E2 เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายเราสามารถผลิตได้เอง
- Progesterone ตรวจระดับฮอร์โมน Progesterone เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนและการตั้งครรภ์
- TSH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อใช้ในการเผาผลาญ พลังงานของร่างกาย
- Thyroid Hormone free T3 สร้างจากต่อมไทรอยด์ โดยปกติจะผลิตออกมาน้อยกว่า T4 แต่จะแอคทีฟน้อยกว่า T4 ถึง 10 เท่า
- Testosterone ฮอร์โมน Testosterone เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่พบในทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยมีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโต การทำงาน และการดูแลเนื้อเยื่ออวัยวะ เจริญพันธุ์ต่างๆ
- Thyroid Hormone free T4 สร้างจากต่อมไทรอยด์
- LH ฮอร์โมนนี้เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ที่จะกระตุ้นออกมาช่วงตกไข่ถ้าใครไม่มีฮอร์โมน นี้ก็จะไม่สามารถมีลูกได้ แต่ถ้ามีค่า LH สูงก็อาจจะเป็นซีสต์ในรังไข่ได้
- ฮอร์โมนต่อมหมวกไต (DHEA-S, Cortisol) ทำหน้าที่หลักในการรับต่อความเครียดต่างๆ ของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงภาวะชรา และมีความสามารถช่วยต้านความชรา ลดการสะสมของไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางกาย เช่น การเจ็บป่วย การถูกกดการสร้างฮอร์โมนจากยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน หรือทางจิตใจ เช่น ความเครียดจากการทำงาน ปัญหารอบตัวในชีวิตประจำวัน จนเกิดภาวะอ่อนล้าของร่างกาย
- FSH เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ไข่สุก ถ้าไม่มีตัวนี้ก็จะทำให้เป็นหมันได้
- Vitamin D ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร และรักษาระดับแร่ธาตุ ดังกล่าวในเลือดให้เป็นปกติ
- ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) เป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมามากกรณีตั้งครรภ์และให้นมบุตร แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสองภาวะนี้แล้วร่างกายสร้างออกมามากเกินไป เช่น มีเนื้องอกที่สร้างโปรแลคติน อาจส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศทำให้รอบเดือนผิดปกติในผู้หญิง หรือมีปัญหาสมรรถภาพทางเพศหรือมีบุตรยากในผู้ชายๆ
- การทำงานของโกรทฮอร์โมน (IGF-1, IGF-BP3) ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย บางคนก็เรียกว่า ฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์ เพราะอายุยิ่งมาก ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะยิ่งลดลง
- ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ถ้าร่างกายมีอินซูลินสูงเกินไป ก็อาจส่งผลให้มีภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเมตาบอลิคต่างๆ เช่น รับความเครียด ความกดดันในชีวิตประจำวันได้ลดลง ภาวะอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โดยมักตรวจอินซูลินควบคู่ไปกับระดับน้ำตาลในวันนั้นเพื่อนำมาวิเคราะห์สมดุลของอินซูลินและระดับน้ำตาล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup
อาการบ่งบอกภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
- ร้อนวูบวาบ
- เหงื่อออกกลางคืนเวลานอน
- หงุดหงิดง่าย
- ผิวแห้ง
- ความรู้สึกทางเพศหรือสมรรถภาพทางเพศลดลง ช่องคลอดแห้ง
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- อาการช่วงก่อนมีประจำเดือนมาก (PMS) เช่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ไมเกรนกำเริบ
- นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น
- รู้สึกว่าความจำไม่แจ่มชัดเท่าเดิม
- รับความเครียด ความกดดันในชีวิตประจำวันได้ลดลง
- เหนื่อยล้าง่าย ต้องการกาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เพื่อที่จะทำงานต่อไปได้
- ลดน้ำหนักยาก รู้สึกว่าการเผาผลาญแย่ลง
- น้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ตั้งใจ
- ออกกำลังกายแล้วไม่ได้เป้าหมาย การฟื้นตัวหลังออกกำลังช้าลง
ทำไมเป็นผู้ชายต้องตรวจฮอร์โมนเพศหญิง และผู้หญิงต้องตรวจฮอร์โมนเพศชายด้วย?
- เอสโตรเจน (Estrogen) มีความสำคัญต่ออารมณ์ทางเพศ สมรรถภาพทางเพศ และการผลิตสเปิร์ม อีกทั้งยังส่งผลต่อการแข็งแรงของกระดูกในผู้ชาย หากผู้ชายมีเอสโตรเจนสูงเกินไปก็จะทำให้กล้ามเนื้อหาย สะสมไขมันได้ง่ายขึ้น มีบุตรยาก สมรรถภาพทางเพศลดลง
- เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ก็ส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และอารมณ์ทางเพศของผู้หญิงเช่นเดียวกัน ถ้าผู้หญิงมีเทสโทสเตอโรนมากเกินไป ก็อาจมีปัญหาประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผิวมัน สิวขึ้น ขนดก ตรวจพบถุงน้ำที่รังไข่
ภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า
ภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า คือ ฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตขาดสมดุล
อาการที่เกิดของแต่ละคน
- ตื่นยาก ตื่นแล้วไม่สดชื่น กลางคืนไม่อยากนอน
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงตลอดวัน
- อยากทานเกลือ หรืออาหารรสเค็ม
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
- หงุดหงิดง่าย โมโหกับเรื่องเล็กน้อย
- ปวดหัว เวียนศีรษะเวลาลุกนั่งเร็ว ๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup
เตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจฮอร์โมน
- ไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร
- หากเป็นไปได้แนะนำมาตรวจช่วงเช้า ประมาณ 08.00 -10.00 น. เนื่องจากเป็นเวลาที่คอร์ติซอลและฮอร์โมนเพศชายสูงที่สุดของช่วงวัน
- สามารถมาตรวจพร้อมตรวจภาพประจำปีได้ โดยงดน้ำงดอาหารตามคำแนะนำของโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี
- กรณีสุภาพสตรีที่ยังมีรอบเดือน และมีปัญหาอาการก่อนมีประจำเดือนหรือ PMS เด่นชัด และต้องการดูสมดุลระหว่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน แนะนำประมาณวันที่ 21 ของรอบเดือน (นับประจำเดือนมาวันแรก เป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน)
- หากรับประทานยาคุมกำเนิด หรือใช้ฮอร์โมนเสริม ควรแจ้งประวัติการเข้ารับการตรวจ
สิ่งที่ได้รับจากการตรวจสมดุลฮอร์โมน
- ช่วยให้รู้ระดับฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย
- หากพบภาวะไม่สมดุล จะได้ดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด
- มีแพทย์ชำนาญการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และเหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล
- ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ตรงกับตัวเรา
- การให้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อชดเชยส่วนที่ขาด
- มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup
แนวทางการรักษา
ฮอร์โมนบำบัด : ปรับฮอร์โมนให้สมดุลของเฉพาะบุคคล เพื่อสุขภาพ และขึ้นอยู่กับการประเมิณของแพทย์ แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนชนิดที่ตรวจพบความผิดปกติ โดยจะทำการปรับฮอร์โมนให้เข้ากับปัญหาสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ จากนั้นจึงเริ่มให้ฮอร์โมน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคล มีระยะห่างในการรักษาแต่ละครั้งประมาณทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน ซึ่งจะมีการตรวจติดตามผลในทุกครั้งที่ผู้เข้ารับบริการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup