ศูนย์สมดุลฮอร์โมน

delimiter image

แชร์   

ศูนย์สมดุลฮอร์โมน โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ให้บริการตรวจวินิจฉัยระดับความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงภาวะหรืออาการผิดปกติต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเช่น ระบบการเผาผลาญในร่างกายลดลง ปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น นอนหลับยาก หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ผิวแห้งกร้านหมองคล้ำ ไม่สดใส ความต้องการทางเพศลดลง โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้การดูแลรักษา ด้วยการปรับฮอร์โมนให้เข้ากับปัญหาสุขภาพ รวมทั้งให้คำแนะนำการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

Image module
  • Image
    ที่ตั้งศูนย์

    ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
    โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)

  • Image
    เวลาทำการ

  • Image
    ช่องทางติดต่อ

    โทร 02-836-9999 ต่อ *4921-3
    LINE : @wmccheckup

ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

delimiter image
ศูนย์ตรวจสุขภาพ

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพประจำปี, การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน, การตรวจความสมดุลของฮอร์โมน...
Image module
Image module
Image module
Image module

บริการและการรักษา

delimiter image
Image module

บริการและการรักษา

ให้บริการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของฮอร์โมนด้วยโปรแกรมสมดุลฮอร์โมน ได้แก่

  • Image
    ตรวจสุขภาพโดยแพทย์
  • Image
    ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • Image
    ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ
  • Image
    ตรวจระดับฮอร์โมนความสุข (ฮอร์โมนต้านความเครียด)
  • Image
    ตรวจระดับโกรทฮอร์โมน
  • Image
    ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย/หญิง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup

Image module

ฮอร์โมนหลักที่มีผลต่อร่างกาย

  • Image
    Estrogen E2  เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายเราสามารถผลิตได้เอง
  • Image
    Progesterone  ตรวจระดับฮอร์โมน Progesterone เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนและการตั้งครรภ์
  • Image
    TSH  เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อใช้ในการเผาผลาญ พลังงานของร่างกาย
  • Image
    Thyroid Hormone free T3  สร้างจากต่อมไทรอยด์ โดยปกติจะผลิตออกมาน้อยกว่า T4 แต่จะแอคทีฟน้อยกว่า T4 ถึง 10 เท่า
  • Image
    Testosterone  ฮอร์โมน Testosterone เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่พบในทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยมีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโต การทำงาน และการดูแลเนื้อเยื่ออวัยวะ เจริญพันธุ์ต่างๆ
  • Image
    Thyroid Hormone free T4  สร้างจากต่อมไทรอยด์
  • Image
    LH  ฮอร์โมนนี้เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ที่จะกระตุ้นออกมาช่วงตกไข่ถ้าใครไม่มีฮอร์โมน นี้ก็จะไม่สามารถมีลูกได้ แต่ถ้ามีค่า LH สูงก็อาจจะเป็นซีสต์ในรังไข่ได้
  • Image
    ฮอร์โมนต่อมหมวกไต (DHEA-S, Cortisol)  ทำหน้าที่หลักในการรับต่อความเครียดต่างๆ ของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงภาวะชรา และมีความสามารถช่วยต้านความชรา ลดการสะสมของไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางกาย เช่น การเจ็บป่วย การถูกกดการสร้างฮอร์โมนจากยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน หรือทางจิตใจ เช่น ความเครียดจากการทำงาน ปัญหารอบตัวในชีวิตประจำวัน จนเกิดภาวะอ่อนล้าของร่างกาย
  • Image
    FSH  เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ไข่สุก ถ้าไม่มีตัวนี้ก็จะทำให้เป็นหมันได้
  • Image
    Vitamin D ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร และรักษาระดับแร่ธาตุ ดังกล่าวในเลือดให้เป็นปกติ
  • Image
    ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) เป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมามากกรณีตั้งครรภ์และให้นมบุตร แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสองภาวะนี้แล้วร่างกายสร้างออกมามากเกินไป เช่น มีเนื้องอกที่สร้างโปรแลคติน อาจส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศทำให้รอบเดือนผิดปกติในผู้หญิง หรือมีปัญหาสมรรถภาพทางเพศหรือมีบุตรยากในผู้ชายๆ
  • Image
    การทำงานของโกรทฮอร์โมน (IGF-1, IGF-BP3) ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย บางคนก็เรียกว่า ฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์ เพราะอายุยิ่งมาก ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะยิ่งลดลง
  • Image
    ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ถ้าร่างกายมีอินซูลินสูงเกินไป ก็อาจส่งผลให้มีภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเมตาบอลิคต่างๆ เช่น รับความเครียด ความกดดันในชีวิตประจำวันได้ลดลง ภาวะอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โดยมักตรวจอินซูลินควบคู่ไปกับระดับน้ำตาลในวันนั้นเพื่อนำมาวิเคราะห์สมดุลของอินซูลินและระดับน้ำตาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup

Image module
Image module

อาการบ่งบอกภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

  • ร้อนวูบวาบ
  • เหงื่อออกกลางคืนเวลานอน
  • หงุดหงิดง่าย
  • ผิวแห้ง
  • ความรู้สึกทางเพศหรือสมรรถภาพทางเพศลดลง ช่องคลอดแห้ง
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • อาการช่วงก่อนมีประจำเดือนมาก (PMS) เช่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ไมเกรนกำเริบ
  • นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น
  • รู้สึกว่าความจำไม่แจ่มชัดเท่าเดิม
  • รับความเครียด ความกดดันในชีวิตประจำวันได้ลดลง
  • เหนื่อยล้าง่าย ต้องการกาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เพื่อที่จะทำงานต่อไปได้
  • ลดน้ำหนักยาก รู้สึกว่าการเผาผลาญแย่ลง
  • น้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ออกกำลังกายแล้วไม่ได้เป้าหมาย การฟื้นตัวหลังออกกำลังช้าลง

ทำไมเป็นผู้ชายต้องตรวจฮอร์โมนเพศหญิง และผู้หญิงต้องตรวจฮอร์โมนเพศชายด้วย?

  • เอสโตรเจน (Estrogen) มีความสำคัญต่ออารมณ์ทางเพศ สมรรถภาพทางเพศ และการผลิตสเปิร์ม อีกทั้งยังส่งผลต่อการแข็งแรงของกระดูกในผู้ชาย หากผู้ชายมีเอสโตรเจนสูงเกินไปก็จะทำให้กล้ามเนื้อหาย สะสมไขมันได้ง่ายขึ้น มีบุตรยาก สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ก็ส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และอารมณ์ทางเพศของผู้หญิงเช่นเดียวกัน ถ้าผู้หญิงมีเทสโทสเตอโรนมากเกินไป ก็อาจมีปัญหาประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผิวมัน สิวขึ้น ขนดก ตรวจพบถุงน้ำที่รังไข่

ภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า

ภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า คือ ฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตขาดสมดุล

อาการที่เกิดของแต่ละคน

  • ตื่นยาก ตื่นแล้วไม่สดชื่น กลางคืนไม่อยากนอน
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงตลอดวัน
  • อยากทานเกลือ หรืออาหารรสเค็ม
  • ความรู้สึกทางเพศลดลง
  • หงุดหงิดง่าย โมโหกับเรื่องเล็กน้อย
  • ปวดหัว เวียนศีรษะเวลาลุกนั่งเร็ว ๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup

Image module

เตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจฮอร์โมน

  • Image
    ไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร
  • Image
    หากเป็นไปได้แนะนำมาตรวจช่วงเช้า ประมาณ 08.00 -10.00 น. เนื่องจากเป็นเวลาที่คอร์ติซอลและฮอร์โมนเพศชายสูงที่สุดของช่วงวัน
  • Image
    สามารถมาตรวจพร้อมตรวจภาพประจำปีได้ โดยงดน้ำงดอาหารตามคำแนะนำของโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี
  • Image
    กรณีสุภาพสตรีที่ยังมีรอบเดือน และมีปัญหาอาการก่อนมีประจำเดือนหรือ PMS เด่นชัด และต้องการดูสมดุลระหว่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน แนะนำประมาณวันที่ 21 ของรอบเดือน (นับประจำเดือนมาวันแรก เป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน)
  • Image
    หากรับประทานยาคุมกำเนิด หรือใช้ฮอร์โมนเสริม ควรแจ้งประวัติการเข้ารับการตรวจ

สิ่งที่ได้รับจากการตรวจสมดุลฮอร์โมน

  • ช่วยให้รู้ระดับฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย
  • หากพบภาวะไม่สมดุล จะได้ดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด
  • มีแพทย์ชำนาญการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และเหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล
  • ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ตรงกับตัวเรา
  • การให้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อชดเชยส่วนที่ขาด
  • มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup

Image module

แนวทางการรักษา

ฮอร์โมนบำบัด : ปรับฮอร์โมนให้สมดุลของเฉพาะบุคคล เพื่อสุขภาพ และขึ้นอยู่กับการประเมิณของแพทย์ แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนชนิดที่ตรวจพบความผิดปกติ โดยจะทำการปรับฮอร์โมนให้เข้ากับปัญหาสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ จากนั้นจึงเริ่มให้ฮอร์โมน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคล มีระยะห่างในการรักษาแต่ละครั้งประมาณทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน ซึ่งจะมีการตรวจติดตามผลในทุกครั้งที่ผู้เข้ารับบริการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์สมดุลฮอร์โมน ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *4921-3
LINE : @wmccheckup

แพทย์ประจำศูนย์

delimiter image

บทความและแพ็กเกจโปรโมชั่น

delimiter image
รีวิว!! ตรวจฮอร์โมน

รีวิว!! ตรวจฮอร์โมน

หงุดหงิด งุ่นง่าน นอนไม่หลับ ฉุนเฉียว ผมร่วง ผิวแห้ง เป็นเพราะฮอร์โมนหรือเปล่านะ? แล้วอาการพวกนั้นเกี่ยวกับฮอร์โมนได้ยังไง? วันนี้แอดมีคำตอบให้ ใครมีอ...
ความเครียดสะสม ภาวะอันตรายเสี่ยงซึมเศร้า เสียชีวิต!!

ความเครียดสะสม ภาวะอันตรายเสี่ยงซึมเศร้า เสียชีวิต!!

ความเครียดมักเกิดจากปัจจัยที่อยู่รอบตัว อาทิ เศรษฐกิจ การทำงาน รวมถึงครอบครัว ซึ่งโดยปกติแล้วความเครียดคือภาวะทางอารมณ์ที่สามารถหายไปได้เอง
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน

แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน

ระดับของความสมดุลฮอร์โมนในร่างกายเราเป็นสิ่งจำเป็น เพราะฮอร์โมนแต่ละตัวล้วนพึ่งพากันและกัน

Accessibility Tools