ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

delimiter image

แชร์  

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ให้บริการตรวจรักษาและประเมินอาการ พร้อมทั้งคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน ไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ ภายใต้การดูแลของทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ร่วมกันทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ ด้วยการประสานงานและติดตามความคืบหน้าร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาและการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Image module
  • Image
    ที่ตั้ง
    ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
    โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
  • Image
    เวลาทำการ
  • Image
    ช่องทางติดต่อ
    โทร 02- 836-9999 กด 2 หรือ * 2921-3

เราพร้อมดูแล เคียงข้างคุณ
ในการรับมือเบาหวานอย่างมั่นใจ ด้วยทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ

Image module
Image module
Image module

นอกจากนี้ ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ยังให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีองค์ความรู้ด้านการแพทย์และสุขภาพเพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม 

delimiter image

เบาหวาน

เราพร้อมให้บริการดูแลรักษาครอบคลุมในด้านการประเมินภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน ด้วยโปรแกรมตรวจคัดกรองเบาหวาน ตลอดจนการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวานที่มากประสบการณ์

ไทรอยด์

เราให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการทำงานจากต่อมไทรอยด์ทั้งประเภทไทรอยด์เป็นพิษและไม่เป็นพิษ ตลอดจนการตรวจร่างกายดูก้อนไทรอยด์ด้วยการอัลตราซาวด์โดยแพทย์เฉพาะทางพร้อมทีมบุคลากรทางการแพทย์สหสาขาวิชาพร้อมให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

ต่อมไร้ท่อ

เราให้บริการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคระบบต่อมไร้ท่อ โดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์การรักษา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากเซลล์ที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ตับอ่อน ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมไพเนียล ต่อมไทมัส และต่อมเพศ

บริการและการรักษา

delimiter image
Image module

การบริการศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

  • Image
    การประเมินและตรวจคัดกรอง

    โรคเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โดยอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคเบาหวานไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ รวมถึงพยาบาล ผู้ชำนาญเรื่องเบาหวาน นักโภชนาการ นักกิจกรรมเภสัชกร และเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องเท้า

  • Image
    การตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย หรือ การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle Brachial Index : ABI)
  • Image
    การตรวจวินิจฉัยและให้การป้องกันรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวานได้ทันท่วงที อาทิเช่น การตรวจดูไข่ขาวในปัสสาวะโดยละเอียด Micro albumin urine , การตรวจจอประสาทตา, การตรวจดูน้ำตาลในเม็ดเลือดแดง (HbA1c) , การส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางหัวใจ, ไต, ตา, ผ่าตัด และตรวจเท้า
  • Image
    การดูแลให้คำแนะนำญาติที่ใกล้ชิดผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่มีความเสี่ยง ให้ได้รับการแนะนำการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานจากภาวะก่อนเป็นเบาหวาน(Pre-Diabetes) โปรแกรมตรวจเช็คว่าเป็นเบาหวาน หรือเบาหวานแอบแฝงหรือไม่ โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารและหลังรับประทานกลูโคส OGTT
  • Image
    บริการตรวจคัดกรองไทรอยด์ เป็นการประเมินการทำงานและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของต่อมไทรอยด์ โดยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ และการตรวจภาพต่อมไทรอยด์ด้วยอัลตราซาวด์ เพื่อดูขนาดของต่อมไทรอยด์ ดูว่ามีก้อนเนื้อ (Thyroid nodule), ถุงน้ำ (Cyst) หรือหินปูนที่ก้อน (Calcification) รวมทั้งประเมินต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอด้วย
  • Image
    การใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์ (Needle aspirate)

    คือ วิธีการตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือซีสต์โดยการใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเยื่อ และนำส่งตรวจ ทางกล้องจุลทัศน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 – 836 9999 กด 2 หรือ * 2921-3

แพทย์ประจำศูนย์

delimiter image

บทความและแพ็กเกจโปรโมชั่น

delimiter image
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus)

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus)

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำสารคาร์โบไฮเดรต ( ประเภทแป้งและน้ำตาล ) มาใช้ได้ตามปกติ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ เกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายท...
“ไทรอยด์เป็นพิษ” อันตรายถึงชีวิต

“ไทรอยด์เป็นพิษ” อันตรายถึงชีวิต

ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก มีหน้าที่สำคัญ คือ การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์และหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปทำหน้าที่ตา...
โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus: DM, Diabetes )

โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus: DM, Diabetes )

เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยทั้งหมดนี้เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ

Accessibility Tools