ไลเค่น อะไมลอยโดซิส เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการสะสมของ โปรตีนอะไมลอยด์ (amyloid) ในชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดลักษณะตุ่มแข็งเล็ก ๆ สีเทาหรือน้ำตาล ผิวหนังบริเวณนั้นจะหนาและคันมาก มักพบบริเวณ หน้าแข้ง แขน และแผ่นหลัง

ในช่วงตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) มักเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากกว่าปกติ ผิวจึงมันง่าย และรูขุมขนก็มีแนวโน้มอุดตันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบตามมาได้ง่าย

ฝ้า เกิดจากการสร้างเม็ดสีมากผิดปกติในผิวหนัง สามารถพบได้บ่อยที่ผิวหน้า และยังสามารถพบที่คอและแขนได้ด้วย พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย

ผลเป็นคีลอยด์เป็นแผลเป็นชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อคอลลาเจนที่บริเวณแผล ทำให้แผลเป็นมีขนาดใหญ่กว่าแผลเดิมและมีลักษณะนูนสูงกว่าผิวหนังปกติ แผลเป็นคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบได้บ่อยในผู้ที่มีผิวสีเข้มและผู้ที่มีประวัติเป็นแผลเป็นคีลอยด์มาก่อน

ผิวไหม้แดดเป็นภาวะที่ผิวหนังได้รับความเสียหายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์หรือจากเตียงอาบแดด อาการของผิวไหม้แดด ได้แก่ ผิวแดง บวม ร้อน อาจถึงขั้นผองเป็นตุ่มน้ำ และเจ็บปวด แสบร้อน ในบางรายอาจมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย

ในช่วงที่อากาศร้อนชื้น ทำให้เหงื่อออกมากและเกิดการอับชื้นได้ง่าย จึงทำให้เกิดโรคบางอย่างที่สัมพันธ์ กับเหงื่อและอากาศร้อน โดยเฉพาะโรคผดร้อน ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงฤดูร้อน

โรคหน้าแดงโรซาเชียเป็นภาวะผิวหนังเรื้อรังที่ทำให้เกิดอาการแดงบริเวณตอนกลางของใบหน้า จมูก แก้ม โรคนี้สามารถส่งผลกระทบต่อผู้คนทุกวัย แต่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยกลางคนที่มีผิวขาว

ซีสต์หรือก้อนไขมันใต้ผิวหนังชนิดเป็นถุงหรือถุงที่เต็มไปด้วยของเหลวหรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ที่บริเวณใดก็ได้ของร่างกาย

ก้อนเนื้อขนาดเล็กมีลักษณะนุ่ม เป็นติ่งอยู่บนผิวหนัง มีสีและขนาดแตกต่างกันไป โดยมีขนาดตั้งแต่ไม่กี่มิลลิเมตรจนถึงประมาณ 2 นิ้ว

โรคผิวหนังช้าง หรือ Acanthosis Nigricans เป็นภาวะที่ผิวหนังหนาขึ้นและมีสีคล้ำขึ้น มักพบที่บริเวณซอกคอ รักแร้ ข้อพับ และขาหนีบ บางครั้งจะมีติ่งเนื้อ จำนวนมากขึ้นควบคู่ไปกับรอยดำ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคเบาหวาน