การทานฟาสต์ฟู้ดหรือการดื่มแอลกอฮอล์สุดเหวี่ยงในคืนวันหยุด อาจเป็นเรื่องปกติของคนยุคใหม่หลาย ๆ คน แต่อย่าลืมคำนึงถึงว่าพฤติกรรมดังกล่าว อาจส่งผลให้ร่างกายตกอยู่ใน “ภาวะไขมันพอกตับ” ประตูสู่การเกิด “มะเร็งตับและโรคตับแข็ง” ได้ง่ายมากขึ้น
โดยปกติแล้วไขมันที่ร่างกายได้รับจะถูกเผาผลาญที่ตับและเนื้อเยื่ออื่น ๆ แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความจำเป็นจะถูกสะสมที่ตับ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) และพัฒนากลายเป็น “ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver)” ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ป่วยจะไม่ทราบว่าตนเองตกอยู่ในภาวะไขมันพอกตับ เนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ อาจตรวจพบความผิดปกติจากการเจาะเลือดตรวจสุขภาพ โดยในบางรายอาจพบอาการได้ดังนี้
● เหนื่อยบ่อย อ่อนเพลีย และไม่มีแรง
● มีอาการไม่สบายท้อง ปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา
● มีอาการคลื่นไส้ น้ำหนักลดผิดปกติ และอยากอาหารน้อยลง
● สมาธิสั้นลง มึนงง และความสามารถในการตัดสินใจต่ำลง
สาเหตุการเกิด “ภาวะไขมันพอกตับ”
1. การดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน หรือดื่มมากเกินไป
2. ภาวะอ้วน น้ำหนักตัวมากเกินไป
3. โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญไขมัน
4. ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เช่นไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
5. การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เช่น ภาวะอดอาหาร ( severe starvation ), ผ่าตัดกระเพาะ ( gastric bypass )
6. ได้รับอาหารที่ให้พลังงานสูงทางหลอดเลือดดำ ( parenteral nutrition )
7. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด อาทิ ยาปฏิชีวนะบางตัว ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือ ยากลุ่มฮอร์โมน เป็นต้น
ใครบ้างเสี่ยงเป็น “ภาวะไขมันพอกตับ”
● ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ชายรอบเอว 40 นิ้วขึ้นไป และ ผู้หญิง รอบเอว 35 นิ้วขึ้นไป
● ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
● ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
● ผู้ที่มีภาวะโภชนาการเกินหรือดัชนีมวลกายมากกว่า 30 kg/m2
การตรวจหาเพื่อทำการรักษาภาวะไขมันพอกตับ สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเจาะเลือด การอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรือแม้แต่การเจาะชิ้นเนื้อ แต่อีกหนึ่งวิธีที่เป็นที่นิยม เพราะไม่ต้องเจ็บตัว รวมถึงยังสามารถตรวจหาก่อนเกิดอาการป่วยได้อีกด้วย คือ การตรวจด้วยเครื่อง “Fibroscan” เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยตรวจหาปริมาณไขมันสะสมในตับและพังผืดในเนื้อตับ โดยใช้เวลาเพียง 10 นาที เพิ่มโอกาสการรักษาและลดภาวะเสี่ยงจากการตรวจหารูปแบบเดิม
แต่อย่างไรแล้ว การดูแลสุขภาพ ควบคุมน้ำหนัก และอาหารให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม คือการป้องกันการเกิดไขมันพอกตับที่ได้ผลดีที่สุด แต่หากพบว่าตนเองมีอาการที่บ่งชี้ถึงการตกอยู่ในภาวะไขมันพอกตับ ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ เลเซอร์กำจัดขนรักแร้ Aileen
แพ็กเกจ ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยระบบ AI
แพ็กเกจ ลดปวด ออฟฟิศซินโดรม
แพ็กเกจ กระตุ้นการกลืนด้วย Vital Stim
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ฝึกกิจกรรมบำบัด
แพ็กเกจ ฝังรากฟันเทียม
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน
แพ็กเกจ ลดความอ้วน ด้วยบอลลูนในกระเพาะอาหาร
แพ็กเกจ ตรวจภูมิหลังติดเชื้อ หรือ หลังฉีดวัคซีน แบบ Quantitative
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2566
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
แพ็กเกจ สปาตา (Eyelid spa)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ฝากครรภ์ Pregnancy Program (เหมาจ่าย)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
แพ็กเกจ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก IUI
บทความสุขภาพอื่นๆ
ตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักอย่างไรให้ผอม
“หินปูนเต้านม” เสี่ยงมะเร็งเต้านม ตรวจได้ด้วยแมมโมแกรม
เตรียมบอกลารอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
ยิ่งลดยิ่งอ้วน ข้อผิดพลาดของการลดน้ำหนัก
รู้หรือไม่? ทำไมเด็ก.. ต้องทำฟันกับหมอฟันเด็กเท่านั้น!
ถ่ายเป็นเลือด สัญญานเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง
การดูแลภาวะชักจากไข้ในเด็ก
สัญญานเตือน! คุณกำลังเสี่ยง “ช่องคลอดอักเสบ”
เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)
ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?
ตรวจคัดกรองมะเร็งหลังโพรงจมูก เพิ่มโอกาสให้หายขาดได้
รู้เท่าทัน “โรคหัวใจเด็ก”
รักษาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์!
รักษาอาการปวด ด้วยคลื่นแม่เหล็ก PMS
บรรเทาปวด ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง high power laser therapy
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น “พังผืดมดลูก”
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ เสี่ยงโรคไต จริงหรือไม่
ทำอย่างไรหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ถั่วเหลือง กับ วัยทอง
VDO ความรู้สุขภาพ
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy
ฝากไข่ ลดเสี่ยง เมื่อพร้อมมีลูก
รู้ทันอาการปวดไมเกรน ภัยร้ายวัยทำงาน
ตรวจสุขภาพประจำปี
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เด็กโตก่อนวัย สัญญาณเตือน ไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสูง
รีวิวพลีชีพ! ทำ Colon Hydrotherapy (ดีท็อกซ์) สวนก้น ล้างลำไส้ ครั้งแรก
‘จมูกแรก’ ผ่านไป 6 เดือน เพื่อนทัก ปังมาก
ห้ามเลื่อนผ่าน Clip นี้..ถ้าคุณคิดจะเสริมหน้าอก
รู้ก่อน..รักษาก่อน “อาย กมลเนตร” ชวนตรวจสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีที่ยืนยาว
การส่องกล้องโพรงมดลูก แม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล เตรียมพร้อมสู่การรักษา “มีบุตรยาก”
ก้อนเต้านม ไม่ต้องผ่าก็หายได้
IUI การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
บทความโดย

นายแพทย์ วชิรพงศ์ เอกไพบูลย์
แพทย์เฉพาะทางอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์โรคทางเดินอาหารและเอ็นโดสโคป ชั้น 3
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ( WMC )
โทร. 02-836-9999 ต่อ *3821-2
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
