- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับเรา
- บริการของเรา
- ศูนย์การรักษา
- ศูนย์บริการลูกค้าต่างประเทศ
- บริการรถพยาบาลฉุกเฉิน
- คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย
- ห้องพักผู้ป่วย
- ห้องพิเศษเดี่ยว Superior Room
- ห้องพิเศษเดี่ยว VIP Room
- ห้องพิเศษเดี่ยว Superior Room (เด็ก)
- ห้องดูแลผู้ป่วยวิกฤตด้านหัวใจ (CCU)
- ห้องไอซียู (ICU)
- ห้องไอซียู ICU Isolation (Negative Pressure)
- ห้องอภิบาลผู้ป่วยกึ่งวิกฤต ICU Intermediate
- ห้องอภิบาลผู้ป่วยกึ่งวิกฤตทางด้านระบบหัวใจ CCU Intermediate
- ห้องย้ายเด็กอ่อน (Nursery Rooom)
- ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต (NICU)
- ค้นหาแพทย์
- ประกันที่เข้าร่วม
- เวิลด์ฟู้ดฮอลล์
- แพ็กเกจและโปรโมชั่น
- ข้อมูลด้านสุขภาพ
- ติดต่อเรา
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก
เวิลด์เมดิคอล
เวิลด์เมดิคอล
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล เข้าใจถึงความสมบูรณ์ของคำว่า “ครอบครัว” จึงมุ่งเน้นที่จะให้บริการตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และรักษาภาวะมีบุตรยากตามปัญหาที่แตกต่างในแต่ละบุคคล ครอบคลุมตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ขั้นสูง อาทิ การส่องกล้องโพรงมดลูก การวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน หรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก ( IUI ) ตลอดจนการเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ อาทิ การตรวจสเปิร์ม หรือการฝากไข่
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ให้บริการภายใต้มาตรฐานระดับสากล Joint Commission International (JCI) ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย โดยสูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยาก ทีมพยาบาล ร่วมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ มีความเข้าใจในกระบวนการรักษา พร้อมให้คำปรึกษา และให้บริการด้วยความใส่ใจ นอกจากนี้ ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ยังมีการรักษาและให้คำปรึกษาเฉพาะทางด้านการมีบุตรที่ปลอดโรค โดยเฉพาะโรคทางพันธุกรรม อาทิ โรคเลือดจากธาลัสซีเมีย, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดรุนแรงทางพันธุกรรม รวมไปถึงโรคตาบอดสี ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
บริการและการรักษา
- การตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร
- การฝากไข่ Egg freezing
- การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI)
- การรักษาด้วยเทคนิคการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI)
- การตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิด้วยเครื่อง CASA
- ตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก เพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ ERA TEST
- การผ่าตัดอัณฑะเพื่อเก็บอสุจิ (TESE)
- การตรวจคัดกรองโคมโมโซม
การตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร
ทำไมถึงควรตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร
การมีลูกที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มชีวิตคู่ และสร้างความสุขให้ทุกคนในครอบครัว การตรวจสุขภาพเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการวางแผนเพื่อมีครอบครัวที่สมบูรณ์ เรามาดูกันว่า การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์สำคัญอย่างไร และการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ต้องดูอะไรบ้าง
ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์สำคัญอย่างไร?
1. ช่วยคัดกรองและประเมินความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูก เช่น ธาลัสซีเมีย
2. ช่วยประเมินความพร้อมของร่างกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหากมีโรคที่ไม่ได้รับการดูแล
3. ประเมินความพร้อมของทั้งว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ เช่น ภาวะมีบุตรยาก
4. มีการให้คำแนะนำ ในการเตรียมความพร้อมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ตรวจอะไรบ้าง ?
- ซักประวัติทั้งว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ ได้แก่ ประวัติประจำเดือน ประวัติโรคประจำตัว การเจ็บป่วย การผ่าตัด ประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัว ประวัติการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา
- การตรวจร่างกายทั่วไป ได้แก่ การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก คำนวณดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต
- การตรวจทางนรีเวช ได้แก่ การตรวจภายใน เช็กมะเร็งปากมดลูก อัลตร้าซาวด์อุ้งเชิงกราน
- ตรวจความเข้มข้นเลือด ตรวจโรคธาลัสซีเมียเพื่อประเมินความเสี่ยงในการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียรุนแรง หากมีความเสี่ยงสูง สามารถป้องกันได้โดยการทำเด็กหลอดแก้ว แล้วตรวจพันธุกรรมธาลัสซีเมียก่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก
- ตรวจโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ตับอักเสบบี ซิฟิลิส โรคเอดส์ เพื่อให้การรักษาก่อนการตั้งครรภ์ ป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูก
- การตรวจภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมัน ตับอักเสบบี หากไม่มีภูมิควรฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์
- ตรวจฟัน เนื่องจากการติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลกระทบให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้น ควรรักษาให้หายก่อนการตั้งครรภ์
- การตรวจสุขภาพจิต เพื่อประเมินสภาวะทางอารมณ์และให้คำปรึกษาในการจัดการทางอารมณ์ เตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
- ตรวจโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ตับอักเสบบี ซิฟิลิส โรคเอดส์ เพื่อให้การรักษาก่อนการตั้งครรภ์ ป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูก
- การตรวจประเมินคุณภาพของอสุจิ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 836 9999 ต่อ *4706
LINE : @worldart
การฝากไข่ ทางเลือกของผู้หญิงยุคใหม่ที่วางแผนอนาคต
ในยุคปัจจุบันคุณผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีบุตรช้าลง อาจด้วยหน้าที่การงานหรือ lifestyle แต่การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้นอาจพบกับปัญหามีลูกยากจากรังไข่ที่จะอาจเสื่อมลงตามกาลเวลา แม้ว่าจะยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ในตอนนี้แต่คุณสามารถตั้งครรภ์ได้ในอนาคตเมื่อมีความพร้อม และการฝากไข่ก็เป็นอีกทางเลือกให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น
การฝากไข่คืออะไร
การฝากไข่ คือ การการนำเซลล์ไข่ออกมาเพื่อการเก็บรักษาเอาไว้เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพตามเวลา โดยวิธีการแข่แข็งไข่ ( egg freezing หรือ oocyte cryopreservation) นำเซลล์ไข่ไปแช่แข็งในสารไนโตรเจนเหลว สามารถทำได้ในคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แนะนำให้ทำก่อนอายุ 35 ปี เพื่อโอกาสได้ไข่ที่มีปริมาณมากพอและมีคุณภาพที่ดี
4 ขั้นตอนการเก็บไข่
1. ฉีดยากระตุ้นไข่ แพทย์จะให้ยากระตุ้นไข่ในขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละคน เพื่อทำให้ฟองไข่เจริญเติบโต โดยการฉีดยาบริเวณหน้าท้องด้วยตนเองประมาณ 8-10 วัน
2. ติดตามผลการกระตุ้นไข่ จะมีการอัลตราซาวด์ ประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อดูอัตรการเติบโตของไข่
3. ฉีดยาเหนี่ยวนำการตกไข่ เมื่อไข่โตได้ขนาดที่เหมาะสม (โตกว่า 18 มิลลิเมตรเป็นต้นไป) แพทย์จะให้ยาเหนี่ยวนำให้ไข่ตกและเก็บไข่หลังฉีดยาประมาณ 36 ชั่วโมง
4. เก็บไข่ แพทย์จะใช้การอัลตราซาวด์ระบุตำแหน่งไข่ แล้วเข็มเจาะเข้าไปยังรังไข่ ดูดเซลล์ไข่ออกมา ภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์
- การแช่แข็งไข่
เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ จะถูกแช่แข็งในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส เซลล์ไข่จะได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมอยู่เสมอโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนโดยเฉพาะ
- การแช่แข็งไข่
เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ จะถูกแช่แข็งในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส เซลล์ไข่จะได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมอยู่เสมอโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนโดยเฉพาะ เมื่อคุณมีความพร้อมจะมีบุตร เซลล์ไข่จะถูกนำออกมาละลายเพื่อการผสมกับอสุจิโดยวิธี ICSI เพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนนั้นจะถูกย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกรอการฝังตัวเพื่อตั้งครรภ์ต่อไป
- ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับวันเก็บไข่
1. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนถึงเวลานัดหมายเก็บไข่
2. งดฉีดน้ำหอม เพราะจะเป็นสิ่งเร้าที่รบกวนเซลล์ไข่
3. งดการทำเล็บมือและเล็บเท้า และไม่ใส่คอนแทคเลนส์เพื่อใช้ในการประเมินร่างกายขณะให้ยาระงับความรู้สึก
4. ควรมาให้ตรงเวลานัดหมาย เพราะมีผลกระทบต่อระยะเวลาการเก็บไข่
- การปฏิบัติตัวหลังการเก็บไข่
1. หลังการเก็บไข่จะมีอาการปวดท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือนและอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
2. ไม่ควรยกของหนักหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม ในช่วงหลังเก็บไข่ 1 สัปดาห์
3. งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 สัปดาห์
4. ไม่ควรขับรถกลับเองหรือกลับรถสาธารณะตามลำพัง ควรมีผู้ดูแลมาด้วย 1 คน เพื่อคอยดูอาการช่วงเวลาการเดินทางกลับบ้าน
5. คอยสังเกตอาการหลังการเก็บไข่ หากปวดท้องมากหรือท้องบวมควรมาพบแพทย์ทันที
ไข่ที่ฝากไว้จะถูกหยุดอายุและความเสื่อมสภาพ เพื่อคงไว้ให้ได้ไข่ที่สมบูรณ์จนกว่าจะถึงเวลาพร้อมใช้ เมื่อพร้อมมีบุตร ไข่ที่ถูกแช่แข็งไว้จะถูกละลายเพื่อผสมกับอสุจิโดยวิธีการ ICSI หรือ IVF เพื่อให้ได้เป็นตัวอ่อนแล้วย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกต่อไป ซึ่งในกระบวนการเก็บไข่จะมีการใช้ปริมาณยาและการดูแลตัวเองที่แตกต่างกัน ฉะนั้นในทุกขั้นตอนการเก็บไข่ จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุอย่างใกล้ชิด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 836 9999 ต่อ *4706
LINE : @worldart
การรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยวิธีการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI)
คือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรงโดยใช้ท่อพลาสติกเล็ก ๆ สอดผ่านปากมดลูกแล้วฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในช่วงที่มีหรือใกล้กับเวลาที่มีไข่ตก วิธีนี้จะมีการเตรียมน้ำอสุจิ โดยคัดเอาเฉพาะตัวอสุจิที่ยังมีชีวิตและเคลื่อนที่ได้ดีแล้วนำไปฉีดในโพรงมดลูก โดยที่ตัวอสุจิไม่ต้องว่ายผ่านปากมดลูก ทำให้มีตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวจำนวนมาก เข้าไปในโพรงมดลูก และพร้อมที่จะผสมกับไข่ ดังนั้นการทำ IUI (Intrauterine insemination) จึงมักทำกับคู่สมรสที่หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากไม่พบ ฝ่ายชายที่มีเชื้ออสุจิต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหลั่งอสุจิในช่องคลอด หรือฝ่ายหญิงที่มีปัญหาเรื่องภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) มีปัญหาเรื่องการตกไข่ เป็นต้น ยกเว้นในกรณีมีการอุดตันของปีกมดลูกทั้งสองข้างหรือเชื้ออสุจิมีคุณภาพต่ำมา
- ขั้นตอนในการเตรียมฝ่ายหญิง
1. แพทย์จะทำการกระตุ้นรังไข่ให้มีการเจริญเติบโตของฟองไข่ในรอบเดือนนั้นๆ โดยใช้ยาฉีดหรือยารับประทานซึ่งมักจะเริ่มในวันที่ 3 ของรอบเดือน ส่วนมากจะเป็นการรับประทานยา 5 วัน
2. หลังจากนั้นจะมีการนัดตรวจอัลตราซาวด์เพื่อติดตามดูขนาด จำนวนของฟองไข่ และความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก
3. เมื่อฟองไข่มีขนาดเหมาะสม แพทย์จะให้ฉีดยากระตุ้นการตกไข่ 1 เข็ม หลังจากนั้นประมาณ 36-40 ชั่วโมงจะเป็นเวลาที่มีการตกไข่
4. แพทย์จะทำการนัดเพื่อทำการฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก
- ขั้นตอนในการเตรียมอสุจิของฝ่ายชาย
ฝ่ายชายต้องมาพบแพทย์ในวันที่นัดทำ IUI และจะต้องงดเพศสัมพันธุ์ 2-7 วัน เพื่อเก็บน้ำอสุจิ แล้วนำมาส่งภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจะนำอสุจิที่ได้มาทำการคัดกรอง เลือกเฉพาะตัวอสุจิที่ยังมีชีวิตและเคลื่อนไหวดี เพื่อให้แพทย์นำมาฉีดกลับเข้าไปในโพรงมดลูก ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาเตรียมประมาณ 1-2 ชั่วโมง
ขั้นตอนการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
เมื่อเตรียมอสุจิเรียบร้อยก็จะนำเอาน้ำเชื้ออสุจิบรรจุลงในท่อพลาสติกปราศจากเชื้อขนาดเล็ก ๆ แล้วแพทย์จะทำการสอดท่อขนาดเล็กนี้ผ่านปากมดลูกอย่างนุ่มนวล จากนั้นจึงทำการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูก โดยใช้เวลาในการทำไม่กี่นาที ไม่เจ็บ และหลังทำ IUI แล้วท่านสามารถปฏิบัติตัวได้ตามปกติโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
หลังทำ IUI จะปฏิบัติตัวอย่างไร
1. หลังฉีดเชื้ออสุจิจะให้นอนพักประมาณ 30 นาทีแล้วให้กลับบ้านได้
2. งดเพศสัมพันธ์ในวันที่ทำ IUI และหลังจากนั้นสามารถมีเพศสัมพันธุ์ได้ตามปกติ
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ
4. แพทย์จะนัดหมายเพื่อมาตรวจการตั้งครรภ์ภายหลังทำการฉีดอสุจิในระยะ 2 สัปดาห์
อัตราการตั้งครรภ์ภายหลังการฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูก
โดยทั่วไปแล้วอัตราความสำเร็จของการกระตุ้นให้มีการตกไข่และการทำ IUI อยู่ระหว่าง 10 – 20 เปอร์เซ็นต่อรอบการรักษา ซึ่งมีข้อมูลจากการศึกษาในผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ พบว่าในการทำ IUI จะมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่าโอกาสตั้งครรภ์โดยรอบธรรมชาติประมาณ 2 เท่า
ขั้นตอนการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
เมื่อเตรียมอสุจิเรียบร้อยก็จะนำเอาน้ำเชื้ออสุจิบรรจุลงในท่อพลาสติกปราศจากเชื้อขนาดเล็ก ๆ แล้วแพทย์จะทำการสอดท่อขนาดเล็กนี้ผ่านปากมดลูกอย่างนุ่มนวล จากนั้นจึงทำการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูก โดยใช้เวลาในการทำไม่กี่นาที ไม่เจ็บ และหลังทำ IUI แล้วท่านสามารถปฏิบัติตัวได้ตามปกติโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
- อัตราการประสบความสำเร็จของการฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูกจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง คือ
1. อายุของฝ่ายหญิง
2. จำนวนไข่ที่สมบูรณ์พอที่จะทำให้เกิดการปฏิสนธิได้
3. ความเข้มข้นของจำนวนอสุจิที่ใช้ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก และความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในวันที่ฉีดอสุจิ
แต่อย่างไรก็ตามแพทย์จะทำการควบคุมปัจจัยดังกล่าวให้เหมาะสมที่สุด เพื่อจะได้มีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงสุด การทำ IUI จึงเป็นวิธีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายวิธีหนึ่ง มีอัตราความสำเร็จมากพอสมควร ปลอดภัย และเสียค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่หากทำวิธีข้างต้นแล้วฝ่ายหญิงยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แพทย์จะนำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์วิธีอื่นมาใช้ในการรักษาต่อไป เช่น การทำ IVF / ICSI
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 836 9999 ต่อ *4706
LINE : @worldart
การรักษาด้วยเทคนิคการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI)
IVF และ ICSI คืออะไร และต่างกันอย่างไร?
การทำ IVF (In Vitro Fertilization) คือ วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยจะทำการคัดไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชายมาผสมกันในจานเพาะเลี้ยง ในน้ำยาและตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีความเฉพาะ มีการควบคุมภาวะอุณหภูมิความชื้นที่เหมาะสม ทำให้เกิดการปฏิสนธิและมีการแบ่งตัวของเซลล์ตัวอ่อน โดยจะปล่อยให้สเปิร์มเลือกเข้าไปเจาะไข่เองตามธรรมชาติ เมื่อไข่และอสุจิเกิดการปฎิสนธิที่ภายนอกแล้วจึงนำไข่ที่ผสมจนเป็นตัวอ่อนนำกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
การทำอิ๊กซี่ (ICSI : Intra Cytoplasmic Sperm Injection) ต่างกับการทำ IVF ตรงที่การปฏิสนธิ โดยจะคัดไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัว ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดมาผสมกัน โดยนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะใช้เครื่องมือและเทคนิกการใช้เข็มเจาะและฉีดอสุจิเข้าไปที่เนื้อไข่โดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำกลับไปในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แบบปกติต่อไป ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ฝ่ายชายมีปริมาณตัวอสุจิน้อย หรือฝ่ายชายที่ต้องใช้อสุจิจากการผ่าอัณฑะ
ดังนั้นจะเห็นว่า จุดต่างของ 2 วิธีนี้ คือ ICSI เป็นการช่วยทำให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง และ IVF เป็น การปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งในกลุ่มที่สเปริ์มไม่แข็งแรง การทำ ICSI มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า เนื่องจากเราสามารถคัดเสปิร์มที่ดูลักษณะแข็งแรงมาปฏิสนธิได้ ดังนั้นการทำอิ๊กซี่ (ICSI) จึงนิยมมากว่าการทำ IVF
IVF / ICSI จะสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ที่มีประสบปัญหาเรื่องมีบุตรยากได้ อย่างไรก็ตามต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรมีการเตรียมตัวที่ดีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพราะเป็นการรักษาที่ต้องลงทุนเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และความคาดหวังที่มากตามมา
- การทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ ICSI เหมาะกับใครบ้าง
1. คู่สมรสฝ่ายหญิง มีท่อนำไข่ผิดปกติ เช่น ท่อนำไข่อุดตันทั้ง 2 ข้างหรือท่อนำไข่ถูกทำลาย หรือท่อนำไข่บวมน้ำ รวมทั้งผู้ที่ไม่มีท่อนำไข่จากความพิการแต่กำดนิด เป็นต้น
2. คู่สมรสฝายชาย ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้ออสุจิ ได้แก่ มีจำนวนอสุจิน้อย (Oligozoospermia), อสุจิเคลื่อนที่ได้ไม่ดี(Asthenozoopermia), อสุจิมีรูปร่างผิดปกติมาก (Teratozoospermia) รวมทั้งไม่พบตัวอสุจิ(Azoospermia)
3. คู่สมรสที่ยังไม่ทราบสาเหตุการมีลูกยาก และได้พยายามมีบุตรมามากกว่า 3 ปีแล้ว
4. คู่สมรสที่เคยใช้วิธีกระตุ้นการตกไข่และการผสมเทียม โดยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์หลายครั้ง
5. คู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการไม่ตั้งครรภ์
6. ฝ่ายหญิงตรวจพบมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน (Endometriosis)
7. คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีปัญหาไข่ไม่ตกเรื้อรังและล้มเหลวจากการรักษาโดยยากินหรือฉีด หรือผู้ที่มีปริมาณไข่เหลือน้อย (Low Ovarian Reserve)
8. คู่สมรสที่มีความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคผิดปกติทางพันธุกรรมไปสู่บุตร หรือมีประวัติตั้งครรภ์แล้วบุตรผิดปกติ หรือแท้งบุตรบ่อย ซึ่งเป็นกลุ่มคู่สมรสที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGT : Preimplatation Genetic Testing)
9. คู่สมรสที่ต้องการเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์หรือตัวอ่อน ก่อนการรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดหรือฉายแสงรักษา เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคอื่นๆ เช่น SLE เป็นต้น
10. ฝ่ายหญิงที่มีปัญหามดลูก เช่น ความพิการแต่กำเนิดของมดลูก หรือ ได้รับการผ่าตัดมดลูก เป็นต้น
- ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนรักษา
- มีการตรวจคัดกรองภาวะการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
- รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
- กรณีที่ต้องรับประทานวิตามินเสริมให้ทานตามที่แพทย์แนะนำอย่างเหมาะสม
- ควรพักผ่อนเพียงพอ โดยนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงต่อวัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างเหมาะสมไม่หักโหมจนเกินไป
- งดการสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนการรักษาได้ดี
- พยายามฝึกจิตใจให้ผ่อนคลายเพื่อลดความเครียดและวิตกกังวล
- ขั้นตอนและระยะเวลาในการทำเด็กหลอดแก้ว
1. ตรวจเครื่องตรวจขึ้นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอดเพื่อประเมินจำนวนฟองไข่เบื้องต้นและวัดระดับฮอร์โมนร่วมกับการใช้ยาฉีดที่เหมาะสมในการกระตุ้นรังไข่ โดยเริ่มฉีดยาในช่วงต้นของรอบเดือน ช่วงวันที่ 2-3 ของรอบประจำเดือน ใช้เวลา 8 -10 วัน
2. ตรวจประเมินติดตามการตอบสนองของรังไข่ขนาดของฟองไข่ด้วยเครื่องตรวจความเสียงความถี่สูงร่วมกับการเจาะตรวจเลือดฮอร์โมน เมื่อขนาดฟองไข่เหมาะสมคือ 18 มิลลิเมตร มีจำนวน 2-3 ฟอง จะชักนำให้มีการตกไข่ด้วยยาฮอร์โมน หลังจากนั้นประมาณ 36 ชั่วโมง จะกำหนดเวลาที่ไข่ตกเพื่อเก็บไข่
3. เก็บไข่ในขณะที่ทำให้หลับแบบลึกโดยวิสัญญีแพทย์ จากนั้นจะใช้เข็มขนาดเล็กร่วมกับเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านทางช่องคลอด ดูดเก็บฟองไข่ และนำไปตรวจสอบจำนวนและคุณภาพโดยนักวิทยาศาสตร์
4. ให้สามีเก็บน้ำเชื้ออสุจิในวันเดียวกันกับที่เก็บดูดฟองไข่ และนำมาผ่านกระบวนการเตรียมในห้องปฏิบัติการ กรณีที่มีอสุจิแช่แข็งขั้นตอนนี้นักวิทยาศาสตร์จะทำการละลายอสุจิและนำมาผ่านกระบวนการเตรียมเช่นกัน
5. ฟองไข่ที่ได้จะนำมาผสมกับเชื้ออสุจิที่ผ่านกระบวนการการเตรียมแล้ว เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนและเพาะเลี้ยงต่อในตู้เลี้ยงเฉพาะที่มีมาตรฐานการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น
6. เมื่อตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วจะได้รับการเพาะเลี้ยงเพื่อให้เจริญเติบโตมาถึงในระยะ Blastocyst วันที่ 5 หรือ 6 จะทำการย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกในครั้งนี้เลย ซึ่งเรียกว่า รอบย้ายสด หรือบางกรณีไม่สามารถย้ายในรอบนี้ได้ มีการตัดเซลล์ตัวอ่อนเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางโครโมโซมหรือคัดกรองโรคทางพันธุกรรม จำเป็นต้องแช่แข็งเก็บรักษาตัวอ่อนไว้ แล้วจึงมาย้ายในรอบเดือนถัดไป เรียกว่า การย้ายรอบแช่แข็ง
7. หลังจากทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกในรอบสดจะมีการให้ยาเพื่อประคับประคองพยุงการตั้งครรภ์ต่อ 10-12 วันหลังจากย้าย ก็จะนัดมาตรวจเลือดเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ หากสำเร็จก็นัดตรวจติดตามต่อเนื่องจนเข้าสู่ระยะฝากครรภ์ได้อย่างมั่นใจ
8. กรณีไม่สำเร็จในรอบย้ายสด และยังเหลือตัวอ่อนที่แช่แข็งไว้ แพทย์จะทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน และนัดเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเพี่อย้ายตัวอ่อนในรอบประจำเดือนถัดไป
โอกาสประสบความสำเร็จ
เนื่องจากปัจจุบันการย้ายตัวอ่อนที่ World ART รพ.เวิลด์เมดิคอล เป็นการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซิส อายุ 5 หรือ 6 วัน แบบ 100%เพราะเป็นระยะที่ช่วยให้อัตราตั้งครรภ์สำเร็จมากขึ้น บางรายมีการย้ายตัวอ่อนที่มีการตัดเซลล์เพื่อตรวจคัดกรองโครโมโซมและผลโครโมโซมตัวอ่อนปกติ จะยิ่งเพิ่มโอกาสความสำเร็จโดยโอกาสการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วต่อรอบการรักษาซึ่งขึ้นกับอายุของคู่สมรส คุณภาพของน้ำเชื้อ จำนวนและคุณภาพฟองไข่ที่ได้ในแต่ละรอบ และความพร้อมในการรับตัวอ่อนย้ายกลับ โดยส่วนใหญ่หากผู้ป่วยมีจำนวนไข่คุณภาพดีอย่างเพียงพอ ประมาณ 15 ฟองขึ้นไป ความสำเร็จของการตั้งครรภ์สะสมโดยรวมจะอยู่ประมาณ ร้อยละ 50-60 และดีขึ้นเป็น 70-80 % หากมีตัวอ่อนที่โครโมโซมปกติอย่างน้อย 2 ตัว และได้ย้ายกลับ โดยแบ่งเป็นอัตราความสำเร็จ ร้อยละ 35- 40 ต่อรอบที่มีการย้ายตัวอ่อนในรอบที่กระตุ้นหรือรอบสด สูงขึ้นประมาณร้อยละ 40-50 ต่อรอบที่มีการย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็ง กรณีที่มีการย้ายตัวอ่อนที่ตรวจคัดกรองโครโมโซมแล้วพบว่าปกติ อัตราตั้งครรภ์สำเร็จจะสูงมากขึ้นเป็นร้อยละ 60-70
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 836 9999 ต่อ *4706
LINE : @worldart
การตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิด้วยเครื่อง CASA
CASA กับ Sperm มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
CASA ย่อมาจาก Computer assisted sperm analysis คือ การตรวจด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ รับรองตามมาตรฐานสากล ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของอสุจิ รูปร่างความผิดปกติต่างๆ รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ถึงการแตกหักของดีเอ็นเอในหัวอสุจิ (DNA Fragmentation) หรือในขั้นตอนของการคัดเลือกอสุจิสำหรับทำ IVF/ICSI/IUI
CASA มีส่วนช่วยอะไรบ้าง?
เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผล ซึ่งจะทำให้การตรวจวิเคราะห์มีความแม่นยำมากกว่าการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบเดิมๆ เนื่องจากตัวอสุจินั้นมีจำนวนมากและมีการเคลื่อนไหวเร็ว อีกทั้งสายตามนุษย์นั้นมีข้อจำกัดในการทำงาน การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ จะช่วยทำให้การนับจำนวนตัวอสุจิมีความแม่นยำมากขึ้น การดูการเคลื่อนไหวและแยกแยะว่าอสุจิตัวไหนเป็นตัวที่วิ่งเร็วหรือวิ่งช้าก็ทำได้ถูกต้องมากขึ้น นอกจากนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ยังใช้ในการวิเคราะห์รูปร่างของตัวอสุจิว่าตัวไหนเป็นตัวที่รูปร่างปกติหรือผิดปกติ และพบในสัดส่วนเท่าไร ทำให้เราทราบว่าแต่ละคนมีปัญหาการทำงานของตัวอสุจิในส่วนไหนบ้าง
ทำไมต้องตรวจวิเคราะห์คุณภาพสเปิร์ม
ปัญหาของการมีบุตรยาก มักพบในฝ่ายชายถึง 25% ดังนั้นการตรวจคุณภาพอสุจิเพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยากจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับท่านที่วางแผนการมีลูก โดยการตรวจคุณภาพอสุจิจะตรวจปริมาณของอสุจิ จำนวนตัวอสุจิ การเคลื่อนไหวของอสุจิ รูปร่างของตัวอสุจิ ตรวจความสมบูรณ์ของอสุจิ ตรวจความแข็งแรงของอสุจิ และหาความผิดปกติของอสุจิ
- การตรวจวิเคราะห์สเปิร์ม ประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลักๆ
1. ปริมาณของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาต่อครั้ง (Volume)
2. ความเข้มข้นของตัวอสุจิในหนึ่งมิลลิลิตร (Concentration)
3. การเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ (Motility)
4. ปริมาณอสุจิที่ยังมีชีวิต(Vitality)
5. รูปร่างของตัวอสุจิ (Morphology)
- การตรวจวิเคราะห์สเปิร์มเหมาะกับใครบ้าง?
- ต้องการทราบความสมบูรณ์ของอสุจิ เพื่อเตรียมพร้อมมีบุตร
- คู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์โดยวิธีธรรมชาติ ไม่คุมกำเนิด 6-12 เดือนแล้วยังไม่ตั้งครรภ์
- มีโรคที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพตัวอสุจิ เช่น โรคตับ โรคไต โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคคางทูม หรือบาดเจ็บที่ถุงอัณฑะในอดีต
- คำแนะนำในการเก็บน้ำอสุจิที่ถูกต้อง
1 .ควรงดการมีเพศสัมพันธ์รวมถึงการหลั่งอสุจิด้วยวิธีการใด ๆ อย่างน้อย 2-3 วัน แต่ไม่ควรเกิน 7 วัน
2. ล้างมือและอวัยวะเพศให้สะอาดด้วยสบู่ แล้วเช็ดให้แห้งก่อนการเก็บน้ำอสุจิ
3. เก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีช่วยตัวเอง (Masturbation)
4. ระหว่างการเก็บหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสภายในภาชนะเก็บน้ำเชื้อ
5. ห้ามเก็บโดยใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากถุงยางอนามัยมีสารหล่อลื่นซึ่งสามารถทำให้อสุจิตายได้
6. กรณีฝ่ายชายไม่สามารถเก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีช่วยตัวเองได้ สามารถใช้วิธีร่วมเพศกับภรรยาแล้วหลั่งน้ำเชื้อใส่ภาชนะที่ทางคลินิกได้จัดเตรียมไว้ให้
7. เก็บเชื้ออสุจิใส่ภาชนะที่สะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยสามารถขอรับได้จากทางคลินิกแล้วรีบปิดฝาเพื่อนำส่งภายใน 1 ชั่วโมง
8. ห้ามนำน้ำเชื้ออสุจิใส่ตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งก่อนนำมาส่ง
โอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย การตรวจอสุจิก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ความถูกต้องและแม่นยำของการตรวจนั้นก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวที่ดีของฝ่ายชาย โดยหลังจากการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิแล้ว แพทย์จะทำการประเมินภาวะมีบุตรยากและแนะนำแนวทางในการรักษาขั้นต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 836 9999 ต่อ *4706
LINE : @worldart
ตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ ERA TEST
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเทคนิคที่ช่วยการเจริญพันธุ์ ทำให้ปัจจุบันมีทางเลือกที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฝังตัวอ่อนมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะพาทุกท่านรู้จักกับ ERA TEST ตัวช่วยที่จะเอาชนะปัญหาต่างๆนำพาครอบครัวท่านสู่การตั้งครรภ์สำเร็จ
เยื่อบุโพรงมดลูก มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์อย่างไร?
เยื่อบุโพรงมดลูกเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะมีการฝังตัวของตัวอ่อน โดยปกติเยื่อบุโพรงมดลูกของแต่ละคนจะมีความหนาไม่เท่ากัน ซึ่งเยื่อบุโพรงมดลูกที่ดีควรมีความหนาประมาณ 8 – 12 มิลลิเมตร และการเรียงตัวของผนังมดลูกที่สวย ผิวเรียบและเห็นเส้นกลางชัดเจน ดังนั้นการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้พร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการย้ายตัวอ่อน จะช่วยเพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อนมากขึ้น และทำให้เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อีกด้วย
ERA TEST คืออะไร ?
ERA TEST (Endometrial Receptivity Analysis) คือการตรวจเพื่อประเมินความพร้อมของผนังมดลูกโดยละเอียดถึงระดับยีน (Gene Expression) นับเป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งครรภ์สำหรับการเตรียมความพร้อมของผนังมดลูกในการรับการฝังตัวของตัวอ่อน เปรียบเสมือนการซ้อมการย้ายตัวอ่อน อีกทั้งยังช่วยวางแผนและหาเวลาที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อน ลดปัญหาตัวอ่อนไม่ฝังตัวเพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จในการฝังตัวมากยิ่งขึ้น
- ใครบ้างที่เหมาะสมในการตรวจ ERA TEST
- คนที่เคยย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี ผนังมดลูกปกติแต่ไม่ตั้งครรภ์
- คนที่มีตัวอ่อนน้อย เนื่องจากต้องวางแผนอย่างดีที่สุด เพื่อใช้ตัวอ่อนอย่างคุ้มค่าที่สุด
- ขั้นตอนในการทำ ERA TEST
ขั้นตอนในการทำ ERA TEST แพทย์จะทำการเตรียมผนังมดลูก โดยการใช้ยาเตรียมผนังมดลูก และการตรวจติดตามโดยการอัลตราซาวนด์เพื่อประเมินความหนาของผนังมดลูก และการเรียงตัวที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ตามแผนการรักษาที่จะย้ายตัวอ่อนจริง แต่แพทย์จะเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อนำไปตรวจ ERA TEST ต่อไปแทนการฝังหรือย้ายกลับตัวอ่อนจริง
ดังนั้น การตรวจ ERA TEST ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ได้มากกว่าการย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีปกติถึง 25% อย่างไรก็ตาม การตรวจ ERA TEST ไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับทุกคน ทั้งนี้แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 836 9999 ต่อ *4706
LINE : @worldart
การผ่าตัดอัณฑะเพื่อเก็บอสุจิ (TESE)
ภาวะหมันชาย (Male sterility)
“ หมันชาย ” สามารถพบได้จากหลายสาเหตุ เช่น สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ใช้ชีวิตไม่เหมาะสม รวมถึงความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดคือท่อส่งอสุจิไม่มีหรืออุดตัน หรือได้รับอุบัติเหตุหรือติดเชื้อบริเวณลูกอัณฑะทำให้เป็น “หมัน” โดยเฉพาะเชื้อคางทูมที่พบบ่อยจากการซักประวัติโดยแพทย์ ซึ่งกลุ่มนี้บางคนไม่ทราบมาก่อนจนกระทั่งมีการตรวจอสุจิแล้วพบว่าไม่มีตัวอสุจิ หรือมีจำนวนอสุจิน้อยมาก นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ชายที่มีบุตรแล้ว ไม่ต้องการมีอีก จึงไปทำ “หมันถาวร”
กรณีไม่ใช่ทำหมันถาวร แพทย์ต้องหาสาเหตุก่อนว่าเกิดจากลูกอัณฑะ (Testis หรือ Testes) ซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานผลิตน้ำอสุจิ (Semen) ไม่สามารถผลิตอสุจิได้ หรือว่าเกิดปัญหาจากการลำเลียงอสุจิจากลูกอัณฑะไปสู่ถุงพักอสุจิ (Epididymis) อุดตัน หากสาเหตุเกิดจากการสร้างอสุจิมีปัญหาการรักษาค่อนข้างยาก ถึงแม้ว่าจะมียาบางชนิดที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างอสุจิขึ้นมาได้ แต่หวังผลได้ค่อนข้างน้อย
ส่วนกรณีที่เป็นหมันเนื่องจาก ท่อลำเลียงอสุจิ (Vas deferens) อุดตัน การรักษาค่อนข้างง่าย โดยแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเอาน้ำอสุจิจากท่อพักอสุจิหรือดูดเนื้ออัณฑะจากลูกอัณฑะ เพื่อไปคัดหาเซลล์อสุจิ (Sperm) แล้วนำผลไปผสมกับเซลล์ไข่โดยวิธีอิ๊กซี่ (ICSI : Intracytoplasmic Sperm Injection) ที่ได้ผลสำเร็จดี ในกรณีที่ฝ่ายหญิงอายุน้อยกว่า 38 ปี โอกาสสำเร็จมากกว่า 50% ต่อรอบการรักษา ในกรณีผู้ชายที่ทำหมันถาวรแล้วโดยการตัดและผูกท่อนำอสุจิทั้ง 2 ข้าง ทางการแพทย์แนะนำว่าถ้าท่านทำหมันชายมากกว่า 10 ปี ไม่แนะนำให้ต่อหมัน เพราะโอกาสสำเร็จน้อยมากหรือถ้าท่านอายุมากกว่า 60 ปี ไม่แนะนำให้ต่อหมันเช่นเดียวกัน ทางเลือกคือการทำหัตถการผ่าตัดอัณฑะเพื่อดุดอสุจิ หรือนำเนื้ออัณฑะชิ้นเล็กๆมาคัดแยกตัวอ่อนอสุจิไปทำการผสมแบบ ICSI ต่อไป
- การผ่าตัดอัณฑะนี้มีหลากหลายแบบ แต่ที่เป็นที่นิยนในปัจจุบันและ World ART รพ.เวิลด์เมดิคอล มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้บริการได้แก่
1. PESA ( Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดอสุจิออกมาซึ่งวิธีนี้จะได้ผลดีกว่าต่อหมัน การทำพีซ่ และต้องใช้วิสัญญีแพทย์ให้ยาระงับความรู้สึกก่อนจะฉีดยาเฉพาะที่บริเวณถุงอัณฑะ (Scrotum) หลังจากนั้นจะใช้เข็มขนาดเล็กดูดที่ถุงพักน้ำเชื้อ วิธีนี้เรียกว่า “พีซ่า” อีกทั้งยังได้น้ำเชื้อและตัวอสุจิที่ได้คุณภาพมักจะดีกว่า จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป แต่บางกรณีที่ไม่สามารถทำพีซ่าได้ ก็ต้องเปลี่ยนเป็นการทำ TESE
2. TESE (Testicular Epididymal Sperm Extraction) คือการผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกมาเป็นชิ้นเล็กๆซึ่งต้องใช้วิสัญญีแพทย์ให้ยาระงับความรู้สึกก่อนจะฉีดยาเฉพาะที่บริเวณถุงอัณฑะ (Scrotum) แล้วตัดเอาเนื้ออัณฑะชิ้นเล็กๆส่งให้นักวิทยาศาสตร์ทำการแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
ผู้ชายหลาย ๆ ท่าน ถ้ามีลูกพอแล้ว ก่อนจะทำหมันแนะนำให้เก็บน้ำเชื้อแช่แข็งไว้ เผื่อในอนาคตคุณเกิดเปลี่ยนใจและต้องการมีบุตรอีกก็สามารถกระทำได้โดยคุณไม่ต้องมาเจ็บตัวอีกไม่ว่าจะเป็นการแก้หมันชายหรือการทำ PESA หรือ TESE ก็ตาม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 836 9999 ต่อ *4706
LINE : @worldart
การตรวจคัดกรองโคมโมโซม PGT-A By NGS
- การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGD/NGS) เหมาะสมกับใครบ้าง
- คู่แต่งงานที่มีบุตรยาก
- สตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และต้องการมีบุตร
- คู่แต่งงานที่มีประวัติการแท้งบุตรมากกว่า 2 ครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุ
- คู่แต่งงานที่เคยทำ IVF มากกว่า 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
- คู่แต่งงานที่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์บุตรที่โครโมโซมผิดปกติ
- ขั้นตอนการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน
ขั้นตอนเหมือนกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วทุกประการ ตั้งแต่เริ่มต้นกระตุ้นไข่จนถึงระยะเตรียมปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนโดยทั่วไปแล้วนั้นระยะของการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่เหมาะสมสำหรับการแยกเอาเซลล์ออกมาตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมนั้นมี 3 ระยะ ได้แก่
1. ระยะของไข่ก่อนการปฏิสนธิ หรือตัวอ่อนในระยะปฏิสนธิก่อนการแบ่งตัว โดยการแยกเอาส่วน Polar Body ของเซลล์ไข่ หรือตัวอ่อนในระยะปฏิสนธิก่อนการแบ่งตัวออกมาสำหรับตรวจทางพันธุกรรม
2. ตัวอ่อนในระยะแบ่งตัววันที่ 3 หลังการปฏิสนธิ (Clevage Stage)
3. ตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst Stage) โดยมากแล้วแพทย์มักตรวจตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์เนื่องจากมีจำนวนเซลล์มากพอที่จะดึงออกไปตรวจได้โดยกระทบกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนน้อยที่สุด และพบความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างเซลล์แต่ละเซลล์หรือที่เรียกว่า Mosaicism น้อยกว่าการตรวจตัวอ่อนในระยะแบ่งตัว หลังจากได้ตัวอ่อนและเลี้ยงจนได้ระยะที่ตัวอ่อนแบ่งเซลล์มีจำนวนเซลล์มากเพียงพอซึ่งมักเป็นระยะวันที่ 3-5 หลังปฏิสนธิแล้วจึงทำการดูดเซลล์ของตัวอ่อนแต่ละตัวส่งตรวจทางพันธุศาสตร์เพื่อระบุสถานะของตัวอ่อนว่าปกติหรือไม่ จากนั้นจึงเลือกตัวอ่อนที่ไม่เป็นโรคย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าทารกที่ผ่านการตรวจทางพันธุกรรมนี้ เมื่อคลอดจะไม่มีความแตกต่างจากทารกที่มาจากการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ ดังนั้นการตรวจดังกล่าวจึงเป็นการตรวจพันธุกรรมของเซลล์ที่เป็นเสมือนเพียงตัวแทนของเซลล์ทั้งหมดของตัวอ่อน การตรวจนี้จึงมีความละเอียดอ่อนและยุ่งยากกว่าการตรวจพันธุกรรมจากเลือดหรือเนื้อเยื่ออื่นๆเพราะปริมาณสารพันธุกรรมใน 1 เซลล์นั้นมีจำนวนน้อยมาก การตรวจจึงต้องอาศัยความละเอียดอ่อนใช้เวลาและอยู่ในมือของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์สูง เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำและรบกวนตัวอ่อนน้อยที่สุด
ซึ่งที่ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล เราเลือกที่จะทำการแยกเอาเซลล์ตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ ออกมาตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรม เพื่อความปลอดภัยต่อตัวอ่อนและความแม่นยำที่ดีที่สุดและเพื่อประโยชน์ของครอบครัวคู่สมรส
- Blastocentesis
คือ การดูดน้ำในตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst Fluids; BFs) ไปเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์โครโมโซมของตัวอ่อนนั้นๆ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการตรวจพบว่าน้ำในตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์นี้มี cell-free DNA อยู่ในปริมาณมากพอที่จะนำไปตรวจวิเคราะห์โครโมโซมต่อได้ โดยการดูดน้ำในตัวอ่อนไปตรวจแทนที่จะดูดเซลล์ตัวอ่อน (Blastomere) หรือเซลล์เนื้อรก (Trophectoderm)เหมือนอย่างที่เคยทำมานั้นมีข้อดีคือ ช่วยลดการรบกวนการเจริญเติบโตของตัวอ่อนจากการลดส่วนของเซลล์ที่ถูกดูดไปตรวจลงทำให้ตัวอ่อนเติบโตและพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีมากขึ้นได้ นอกจากนั้นการดูดน้ำในตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนโตเต็มวัยที่สุดก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก เป็นการลดโอกาสการเกิดความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างเซลล์แต่ละเซลล์ลงจากการตรวจวิธีเดิมซึ่งอาจตรวจตัวอ่อนตั้งแต่อายุวันที่ 3 โดยการตรวจตัวอ่อนที่อายุน้อยนั้นจะมีโอกาสเกิด Mosaicism มากขึ้นได้และเมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจระหว่างการตรวจโครโมโซมจากน้ำในตัวอ่อนกับการดูดเซลล์ในระยะบลาสโตซิสต์ไปตรวจแล้วนั้น พบว่าให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องใกล้เคียงกันมากจนเป็นที่น่าพึงพอใจ
- เทคนิคการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน
การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนนั้นสามารถทำได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีความถูกต้องแม่นยำต่างกัน ซึ่งเราได้มีการคัดเลือกวิธีการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนที่ดีที่สุด ทันสมัยและมีความถูกต้องแม่นยำที่สุดมาใช้ใน การรักษา เพื่อให้คู่สมรสที่เข้ามาทำการรักษากับทางคลินิกมั่นใจได้ว่าท่านได้รับการดูแลด้วยเทคนิคที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน Comparative Genomic Hybridization (CGH) เป็นเทคนิคการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนโดยการตรวจโครโมโซมทั้ง 23 คู่ คือโครโมโซมร่างกาย 22 คู่ และ โครโมโซมเพศ 1 คู่ วิธีนี้เป็นการตรวจพันธุกรรมในระดับโมเลกุล โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Whole Genome Amplification (WGA) ในการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมก่อนนำไปตรวจ จึงให้รายละเอียดของสภาวะทางพันธุกรรมมากกว่าการตรวจ ในระดับโครโมโซมทั่วไปการตรวจจะใช้การติดฉลากสารพันธุกรรมตัวอ่อนที่ต้องการตรวจและสารพันธุกรรมมาตรฐาน ด้วยสารเรืองแสงที่มีสีแตกต่างกัน จากนั้นนำมาทำปฏิกิริยากันและแปลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าตัวอ่อนนั้นมีโครโมโซมขาดหรือเกิน (Aneuploidy) มีภาวะการเรียงตัวผิดปกติของโครโมโซมที่ไม่สมดุล (Unbalanced Translocation) หรือมีการขาดหายหรือเพิ่มเกินบางส่วนของโครโมโซมหรือไม่ (Chromosome Deletion or Duplication) แต่วิธีนี้ก็ยังมีข้อจำกัดคือไม่สามารถตรวจความผิดปกติของภาวะการเรียงตัวของโครโมโซมแบบสมดุล (Balanced Translocation )หรือการหมุนกลับของชิ้นส่วนโครโมโซม (Inversion) ได้ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวไม่ได้ทำให้ปริมาณสารพันธุกรรมแตกต่างไปจากสารพันธุกรรมมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบ วิธีนี้ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 24-72 ชั่วโมง ขึ้นกับเทคนิคย่อยที่ใช้ในการตรวจ Next Generation Sequencing (NGS)
ในร่างกายของมนุษย์เราประกอบไปด้วยโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นซึ่งแต่ละโครโมโซมจะทำหน้าที่ในการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางกายภาพและการทำงานต่างๆของร่างกาย ในโครโมโซมจะประกอบไปด้วยยีนและในยีนก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนซึ่งมีลำดับเบสมากมายอยู่ในนั้น ยีนที่มีความผิดปกติหรือกลายพันธุ์จึงส่งผลให้เกิดโรคขึ้นในคนที่ได้รับการถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินั้นต่อกันมา การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยี Next Generation Sequencing เป็นเทคนิคที่สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้ถึงในลำดับเบสซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของโครโมโซม โดยใช้การเปรียบเทียบลำดับเบสของยีนที่ก่อโรคกับยีนที่ปกติซึ่งจะมีความแตกต่างกันทำให้สามารถค้นหายีนที่ก่อโรคได้ วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่ตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้ละเอียดมีความถูกต้องแม่นยำสูง และถูกนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนซึ่งถือเป็นเทคนิควิธีการตรวจที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยี Next Generation Sequencing มีข้อดี คือ สามารถตรวจความผิด ปกติของโครโมโซมได้ทั้ง 24 โครโมโซมให้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูงและมีความถูกต้องแม่นยำสูงมากถึง 99.9% นอกจากนั้นระยะเวลาการตรวจยังรวดเร็วกว่าอีกด้วยคือ สามารถทราบผลการตรวจได้ใน 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ดีเทคโนโลยี Next Generation Sequencing ยังไม่สามารถตรวจโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยว (Single Gene Disorder) ภาวะการปนกันของเซลล์ที่ปกติและเซลล์ที่ผิดปกติ (Mosaicism) ในระดับต่ำๆ หรือ ภาวะการซ้ำของชุดโครโมโซม (Polyploidy) และการขาดหรือเกินของชิ้นส่วนโครโมโซมที่มีขนาดเล็กกว่าความสามารถของวิธีการตรวจ เช่น การขาดหรือเกินที่ของชิ้นส่วนโครโมโซมที่มีขนาดเล็กกว่า 10 Mb
- ข้อจำกัดของการตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวอ่อน
การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนยังมีข้อจำกัดในเรื่องความแม่นยำของผลการตรวจ ถึงแม้ว่าจะมีความแม่นยำสูงถึง 95-99% แต่ก็ยังไม่สามารถนำมาทดแทนการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนคลอดได้ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะได้ตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวอ่อนแล้ว ก็ยังแนะนำให้มีการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดเหมือนเป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นอกจากนั้นคู่สมรสควรได้รับทราบถึงโอกาสที่จะได้ตัวอ่อนที่เหมาะสมสำหรับการย้าย เนื่องจากบางกรณีอาจมีโอกาสได้ตัวอ่อนที่เหมาะสมค่อนข้างน้อย เช่นการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางธาลัสซีเมียร่วมกับการตรวจ HLA ที่เข้ากันได้กับบุตรที่เป็นโรค ดังนั้นคู่สมรสอาจต้องได้รับการรักษาหลายรอบก่อนที่จะได้ตัวอ่อนที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาปัญหาผู้มีบุตรยาก
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02 836 9999 ต่อ *4706
LINE : @worldart
แพทย์ประจำศูนย์
ห้องปฏิบัติการ
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล มีทีมนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่เชี่ยวชาญ มากด้วยประสบการณ์สูงและมีความเข้าใจใน กระบวนการรักษา พร้อมให้คำปรึกษา และให้บริการด้วยความใส่ใจ
VDO แนะนำห้อง LAB
ทีมนักวิทยาศาสตร์
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล มีทีมนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่เชี่ยวชาญ มากด้วยประสบการณ์สูงและมีความเข้าใจใน กระบวนการรักษา พร้อมให้คำปรึกษา และให้บริการด้วยความใส่ใจ
เพาะเลี้ยงตัวอ่อน
เพาะเลี้ยงตัวอ่อน
เพาะเลี้ยงตัวอ่อน
เพาะเลี้ยงตัวอ่อน
เพาะเลี้ยงตัวอ่อน