โรคหัวใจ ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่เพียงเท่านั้น แต่ในเด็กก็มีโอกาสพบได้เช่นกัน ซึ่งโรคหัวใจในเด็กอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด ดังนั้นผู้ปกครองควรศึกษาและสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากยิ่งรู้เร็วก็มีโอกาสรักษาหายได้
โรคหัวใจในเด็ก สามารถพบในเด็กได้ทุกช่วงวัย ผู้ป่วยเด็กบางรายมีความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่เริ่มอยู่ในครรภ์มารดาและบางรายตรวจพบได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งโรคหัวใจในเด็กมีหลายประเภทและมีอาการแตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมหรือโครโมโซม
รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ อาทิ ปัญหาสุขภาพ การติดเชื้อ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการได้รับยาหรือสารเคมี ส่งผลให้โครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดมีความผิดปกติ อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดไม่รุนแรง อาการอาจแสดงออกไม่ชัดเจน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการที่สังเกตได้คือ ลักษณะผิวหนังหรือกล้ามเนื้อมีสีเขียวคล้ำโดยเฉพาะบริเวณปลายมือ ปลายเท้า ริมฝีปาก และใบหน้า
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง มีสาเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกัน ได้แก่
1. โรคหัวใจรูมาติค เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่พบในเด็กวัยเรียนอายุ 5 – 15 ปี หากเกิดการติดเชื้อจะทำให้คออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถหายขาดได้ แต่หากหัวใจอักเสบรุนแรง อาจทำให้ลิ้นหัวใจเสียหายถาวร
2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ในผู้ป่วยเด็กบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้
3. โรคคาวาซากิ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุผนังหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง แม้สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากไวรัส แบคทีเรีย รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันจนเกิดภาวะผิดปกติ
4. โรคหัวใจจากการขาดวิตามินบี 1 (เหน็บชา) เกิดจากภาวะการขาดวิตามินบี 1 ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นช้าลง
5. หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างไฟฟ้าหัวใจตั้งแต่กำเนิด หรืออาจเกิดภายหลังจากภาวะลิ้นหัวใจรั่ว หากปล่อยไว้นานอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้
สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจเป็นโรคหัวใจ
- เหนื่อยหอบง่าย
- หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
- ดูดนมได้ช้า
- การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
- ภาวะตัวเขียว โดยเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า ริมฝีปาก
แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีป้องกันโรคหัวใจในเด็ก แต่เราสามารถป้องกันความเสี่ยงและความรุนแรงได้ ด้วยการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดของทารกในครรภ์ หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาได้ อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กที่มีอาการบ่งชี้เสี่ยงโรคหัวใจหลังคลอด ผู้ปกครองควรรีบพามาพบกุมารแพทย์โรคหัวใจ เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมอย่างละเอียดและวางแผนการรักษาต่อไป ทั้งนี้หากปล่อยไว้นาน อาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ เลเซอร์กำจัดขนรักแร้ Aileen
แพ็กเกจ ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยระบบ AI
แพ็กเกจ ลดปวด ออฟฟิศซินโดรม
แพ็กเกจ กระตุ้นการกลืนด้วย Vital Stim
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ฝึกกิจกรรมบำบัด
แพ็กเกจ ฝังรากฟันเทียม
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน
แพ็กเกจ ลดความอ้วน ด้วยบอลลูนในกระเพาะอาหาร
แพ็กเกจ ตรวจภูมิหลังติดเชื้อ หรือ หลังฉีดวัคซีน แบบ Quantitative
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2566
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
แพ็กเกจ สปาตา (Eyelid spa)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ฝากครรภ์ Pregnancy Program (เหมาจ่าย)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
แพ็กเกจ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก IUI
บทความสุขภาพอื่นๆ
ยิ่งลดยิ่งอ้วน ข้อผิดพลาดของการลดน้ำหนัก
รู้หรือไม่? ทำไมเด็ก.. ต้องทำฟันกับหมอฟันเด็กเท่านั้น!
ถ่ายเป็นเลือด สัญญานเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง
การดูแลภาวะชักจากไข้ในเด็ก
สัญญานเตือน! คุณกำลังเสี่ยง “ช่องคลอดอักเสบ”
เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)
ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?
ตรวจคัดกรองมะเร็งหลังโพรงจมูก เพิ่มโอกาสให้หายขาดได้
รู้เท่าทัน “โรคหัวใจเด็ก”
รักษาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์!
รักษาอาการปวด ด้วยคลื่นแม่เหล็ก PMS
บรรเทาปวด ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง high power laser therapy
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น “พังผืดมดลูก”
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ เสี่ยงโรคไต จริงหรือไม่
ทำอย่างไรหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ถั่วเหลือง กับ วัยทอง
รู้ทันก่อนสาย หยุดหายใจขณะหลับคัดกรองได้ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์
เริม โรคผิวหนังที่ควรระวัง!
รู้ทันโรคงูสวัด
VDO ความรู้สุขภาพ
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy
ฝากไข่ ลดเสี่ยง เมื่อพร้อมมีลูก
รู้ทันอาการปวดไมเกรน ภัยร้ายวัยทำงาน
ตรวจสุขภาพประจำปี
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เด็กโตก่อนวัย สัญญาณเตือน ไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสูง
รีวิวพลีชีพ! ทำ Colon Hydrotherapy (ดีท็อกซ์) สวนก้น ล้างลำไส้ ครั้งแรก
‘จมูกแรก’ ผ่านไป 6 เดือน เพื่อนทัก ปังมาก
ห้ามเลื่อนผ่าน Clip นี้..ถ้าคุณคิดจะเสริมหน้าอก
รู้ก่อน..รักษาก่อน “อาย กมลเนตร” ชวนตรวจสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีที่ยืนยาว
การส่องกล้องโพรงมดลูก แม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล เตรียมพร้อมสู่การรักษา “มีบุตรยาก”
ก้อนเต้านม ไม่ต้องผ่าก็หายได้
IUI การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
“ปวดหัวเรื้อรัง” สัญญาณอันตราย โรคร้ายฝังลึก
บทความโดย

ผศ.พญ.อิงคนิจ ชลไกรสุวัฒน์
กุมารเวชศาสตร์ เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์หัวใจเด็ก ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 กด 3 หรือ ต่อ *2721-2
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง






