การรู้สัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นขั้นตอนแรกในการป้องกันความรุนแรงที่อาจส่งผลให้สมองเสียหายถาวรหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันอันตรายจากโรคหลอดเลือดในสมอง คือสิ่งที่ทุกคนควรใส่ใจและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?
โรคหลอดเลือดสมองหรือ “STROKE” เป็นภาวะที่คุกคามถึงชีวิตอย่างร้ายแรง เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบอุดตันหรือแตก ส่งผลให้สมองบางส่วนทำงานผิดปกติและสูญเสียการทำหน้าที่ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการอัมพฤกษ์อัมพาต มักพบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ภาวะผิดปกติโรคหลอดเลือดสมองแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- กลุ่มสมองขาดเลือด พบประมาณร้อยละ 75 – 80 เป็นภาวะเลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือด
- กลุ่มที่มีเลือดออกในสมอง พบประมาณร้อยละ 20 – 25 เป็นภาวะเลือดออกในสมอง เนื่องจากภาวะหลอดเลือดแตก มีอัตราเสียชีวิตสูง
ปัจจัยเสี่ยง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
- การสูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกาย
- ภาวะเครียด
- โรคอ้วน
การรู้สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองสามารถช่วยชีวิต
เราสามารถสังเกตอาการ BEFAST ด้วยตนเองและคนใกล้ชิดได้ ดังนี้
B : BALANCE = อาการวิงเวียนศีรษะ เดินเซ เสียการทรงตัว ไม่สามารถทรงตัวได้
E : EYE = อาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น
F : FACE = อาการปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว มุมปากตก
A : ARM = อาการแขน ขา อ่อนแรงครึ่งซีก ไม่มีแรงหรือชาอย่างเฉียบพลัน
S : SPEECH = อาการพูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง พูดไม่ออก พูดตะกุกตะกัก
T : TIME = เน้นความสําคัญของเวลา รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดภายใน 3 ชั่วโมง
การรักษาซึ่งในวันนี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มสมองขาดเลือด
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ ถ้าผู้ป่วยมารับการรักษาเร็วเท่าใด โอกาสที่จะพิการหรือเสียชีวิตก็จะลดลงมากเท่านั้น โดยแพทย์จะทำการรักษาดังนี้
- การใช้ยาละลายลิ่มเลือดทางเส้นเลือดดำ
- ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องทำหัตถการเพื่อเอาลิ่มเลือดออก หรือในรายที่เป็นมากอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการบวมของสมองและลดความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกมากขึ้น
- การพักฟื้นผู้ป่วยจะต้องได้รับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการสื่อสาร และการเคลื่อนไหว
- การกินยาเพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดสมองตีบซ้ำอย่างสม่ำเสมอ
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันสูง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ควบคุมน้ำหนัก
- ไม่สูบบุหรี่
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเมื่ออายุมากขึ้น
- พยายามควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ
- ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ควรได้รับการรักษาและกินยาอย่างสม่ำเสมอ
การดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และการรู้เท่าทันสัญญาณอันตรายของโรคหลอดเลือดสมองจึงมีความสำคัญอย่างมากเพราะทุกนาทีในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองมีค่า สามารถช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึงความพิการในผู้ป่วยวิกฤติทางสมองให้เหลือน้อยที่สุด ดังนั้น หากมีสัญญาณเตือนของอาการต่างๆ เกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยให้เราสามารถตรวจพบความผิดปกติหรือภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าวได้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมหาเวลาตรวจเช็คสุขภาพสม่ำเสมอนะ
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ เลเซอร์กำจัดขนรักแร้ Aileen
แพ็กเกจ ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยระบบ AI
แพ็กเกจ ลดปวด ออฟฟิศซินโดรม
แพ็กเกจ กระตุ้นการกลืนด้วย Vital Stim
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ฝึกกิจกรรมบำบัด
แพ็กเกจ ฝังรากฟันเทียม
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน
แพ็กเกจ ลดความอ้วน ด้วยบอลลูนในกระเพาะอาหาร
แพ็กเกจ ตรวจภูมิหลังติดเชื้อ หรือ หลังฉีดวัคซีน แบบ Quantitative
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2566
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
แพ็กเกจ สปาตา (Eyelid spa)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ฝากครรภ์ Pregnancy Program (เหมาจ่าย)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
แพ็กเกจ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก IUI
บทความสุขภาพอื่นๆ
ตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักอย่างไรให้ผอม
“หินปูนเต้านม” เสี่ยงมะเร็งเต้านม ตรวจได้ด้วยแมมโมแกรม
เตรียมบอกลารอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
ยิ่งลดยิ่งอ้วน ข้อผิดพลาดของการลดน้ำหนัก
รู้หรือไม่? ทำไมเด็ก.. ต้องทำฟันกับหมอฟันเด็กเท่านั้น!
ถ่ายเป็นเลือด สัญญานเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง
การดูแลภาวะชักจากไข้ในเด็ก
สัญญานเตือน! คุณกำลังเสี่ยง “ช่องคลอดอักเสบ”
เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)
ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?
ตรวจคัดกรองมะเร็งหลังโพรงจมูก เพิ่มโอกาสให้หายขาดได้
รู้เท่าทัน “โรคหัวใจเด็ก”
รักษาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์!
รักษาอาการปวด ด้วยคลื่นแม่เหล็ก PMS
บรรเทาปวด ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง high power laser therapy
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น “พังผืดมดลูก”
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ เสี่ยงโรคไต จริงหรือไม่
ทำอย่างไรหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ถั่วเหลือง กับ วัยทอง
VDO ความรู้สุขภาพ
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy
ฝากไข่ ลดเสี่ยง เมื่อพร้อมมีลูก
รู้ทันอาการปวดไมเกรน ภัยร้ายวัยทำงาน
ตรวจสุขภาพประจำปี
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เด็กโตก่อนวัย สัญญาณเตือน ไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสูง
รีวิวพลีชีพ! ทำ Colon Hydrotherapy (ดีท็อกซ์) สวนก้น ล้างลำไส้ ครั้งแรก
‘จมูกแรก’ ผ่านไป 6 เดือน เพื่อนทัก ปังมาก
ห้ามเลื่อนผ่าน Clip นี้..ถ้าคุณคิดจะเสริมหน้าอก
รู้ก่อน..รักษาก่อน “อาย กมลเนตร” ชวนตรวจสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีที่ยืนยาว
การส่องกล้องโพรงมดลูก แม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล เตรียมพร้อมสู่การรักษา “มีบุตรยาก”
ก้อนเต้านม ไม่ต้องผ่าก็หายได้
IUI การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
บทความโดย

แพทย์หญิง พิมลพรรณ วิเสสสาระกูล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์สมองและระบบประสาท (Neurological Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ( WMC )
โทร.02-836-9999 กด 2 หรือ ต่อ *2921