“ไต” อวัยวะรูปเม็ดถั่ว ทำหน้าที่สำคัญในการขับของเสียออกจากร่างกาย รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ทั้งยังผลิตฮอร์โมนหลายชนิด โดยจะทำงานควบคู่กับระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบร่างกายโดยรวม
และหากพูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับ “ไต” หลายคนคงจะคิดว่าเกิดจากการที่ทานเค็มมากเกินไป แต่! ในความจริงนั้น “โรคไต” สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่คุณอาจมองข้ามไปและทำร้ายไตไปโดยไม่รู้ตัว
ทานอาหารโซเดียมสูง เป็นที่ทราบกันดีว่าการทานอาหารเค็มทำให้เป็นโรคไต แต่ทราบหรือไม่ว่ารสชาติเค็มเกิดจากปริมาณโซเดียมที่สูง ซึ่งมักอยู่ในรูปโซเดียมคลอไรด์ สรุปได้ว่าการรับประทานเค็มแล้วทำให้ไตวายนั้นเกิดจากเกลือแร่ที่ชื่อว่า โซเดียม แต่ไม่ใช่อาหารทุกชนิดที่โซเดียวสูงจะมีรสเค็ม จึงทำให้เราบริโภคเข้าไปโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรคไต โดยโซเดียมสูงที่เรารับเข้าไปในแต่ละวันที่มีผลต่อไตนั้น ยังเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเส้นเลือดสมองตีบ, โรคเส้นเลือดสมองแตก และอื่นๆอีกมากมาย จากข้อมูลที่กล่าวมาเราจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงได้แก่
- ลดหรืองดการใส่เครื่องปรุงรส เช่น เกลือ, น้ำปลา, ซีอิ้ว, ซอสต่างๆ เช่น ซอสพริกซอสมะเขือ, กะปิ ปลาร้า, น้ำจิ้มต่างๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก, กุนเชียง, ลูกชิ้น, แฮม
- หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง
- อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, โจ๊ก
- ศึกษาฉลากกำกับอาหารเพื่อดูปริมาณของโซเดียมที่ระบุไว้เป็นประจำ
ดื่มน้ำน้อย ในภาวะปกติควรดื่นน้ำประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน การทานน้ำที่ไม่เพียงพอสังเกตได้จากการสีปัสสาวะที่เข้มขึ้น จะทำให้ร่างกายขาดน้ำและไตทำงานหนักขึ้น จึงเกิดภาวะไตวายได้ นอกจากนี้การทานน้ำน้อยยังเพิ่มโอกาสที่จะเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
น้ำหนักเกิน น้ำหนักตัวที่มากขึ้นทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น เป็นปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อม
ซื้อยารับประทานเอง การซื้อยารับประทานเองทั้งยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร ยาบางชนิดมีผลทำให้ไตวายได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์/เภสัชกรก่อนทานยาทุกครั้ง
สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อมมากขึ้น
สุดท้ายควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้นโดยที่ ยังไม่มีอาการ เนื่องจากโรคเหล่านี้ในภาวะเริ่มแรกจะไม่มีอาการที่ชัดเจน การที่เริ่มมีอาการบ่งชี้ว่าอาการมักรุนแรงหรือเป็นมาระยะเวลานานแล้ว ซึ่งการเป็นโรคเหล่านี้ทำให้เกิดไตเสื่อมได้ เช่น
- ความดันโลหิตสูง
- เบาหวาน
พฤติกรรมข้างต้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง ควรได้รับการแก้ไขปรับเปลี่ยนอย่างทันท่วงที ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลให้ไตวาย และต้องรักษาโดยการฟอกไต และหนักสุดคือถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว! ดังนั้น หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันที
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ เลเซอร์กำจัดขนรักแร้ Aileen
แพ็กเกจ ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยระบบ AI
แพ็กเกจ ลดปวด ออฟฟิศซินโดรม
แพ็กเกจ กระตุ้นการกลืนด้วย Vital Stim
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ฝึกกิจกรรมบำบัด
แพ็กเกจ ฝังรากฟันเทียม
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน
แพ็กเกจ ลดความอ้วน ด้วยบอลลูนในกระเพาะอาหาร
แพ็กเกจ ตรวจภูมิหลังติดเชื้อ หรือ หลังฉีดวัคซีน แบบ Quantitative
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2566
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
แพ็กเกจ สปาตา (Eyelid spa)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ฝากครรภ์ Pregnancy Program (เหมาจ่าย)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
แพ็กเกจ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก IUI
บทความสุขภาพอื่นๆ
ตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักอย่างไรให้ผอม
“หินปูนเต้านม” เสี่ยงมะเร็งเต้านม ตรวจได้ด้วยแมมโมแกรม
เตรียมบอกลารอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
ยิ่งลดยิ่งอ้วน ข้อผิดพลาดของการลดน้ำหนัก
รู้หรือไม่? ทำไมเด็ก.. ต้องทำฟันกับหมอฟันเด็กเท่านั้น!
ถ่ายเป็นเลือด สัญญานเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง
การดูแลภาวะชักจากไข้ในเด็ก
สัญญานเตือน! คุณกำลังเสี่ยง “ช่องคลอดอักเสบ”
เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)
ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?
ตรวจคัดกรองมะเร็งหลังโพรงจมูก เพิ่มโอกาสให้หายขาดได้
รู้เท่าทัน “โรคหัวใจเด็ก”
รักษาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์!
รักษาอาการปวด ด้วยคลื่นแม่เหล็ก PMS
บรรเทาปวด ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง high power laser therapy
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น “พังผืดมดลูก”
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ เสี่ยงโรคไต จริงหรือไม่
ทำอย่างไรหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ถั่วเหลือง กับ วัยทอง
VDO ความรู้สุขภาพ
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy
ฝากไข่ ลดเสี่ยง เมื่อพร้อมมีลูก
รู้ทันอาการปวดไมเกรน ภัยร้ายวัยทำงาน
ตรวจสุขภาพประจำปี
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เด็กโตก่อนวัย สัญญาณเตือน ไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสูง
รีวิวพลีชีพ! ทำ Colon Hydrotherapy (ดีท็อกซ์) สวนก้น ล้างลำไส้ ครั้งแรก
‘จมูกแรก’ ผ่านไป 6 เดือน เพื่อนทัก ปังมาก
ห้ามเลื่อนผ่าน Clip นี้..ถ้าคุณคิดจะเสริมหน้าอก
รู้ก่อน..รักษาก่อน “อาย กมลเนตร” ชวนตรวจสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีที่ยืนยาว
การส่องกล้องโพรงมดลูก แม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล เตรียมพร้อมสู่การรักษา “มีบุตรยาก”
ก้อนเต้านม ไม่ต้องผ่าก็หายได้
IUI การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
บทความโดย

นายแพทย์ธาวิน ศรีนุต
แพทย์ผู้ชำนาญการอายุรศาสตร์และโรคไต
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์โรคไต (Kidney Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร . 02 -836-9999 กด 2 หรือ *2921-3