นิ้วล็อก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ เพียงแต่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด และใช้มือไม่ถนัด แต่สามารถป้องกันและรักษาหายได้ วิธีและแนวทางรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและดุลยพินิจของแพทย์
อย่างไรก็ตาม ควรปรับพฤติกรรมการใช้นิ้วมือให้เหมาะสม ทั้งหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วเกี่ยวของหนักๆ หรือลดระยะเวลาการเล่นสมาร์ตโฟนลง ก่อนเกิดอาการนิ้วล็อกหรือก่อนที่อาการของโรคจะดำเนินไปมากขึ้นกว่าเดิม
ระยะแรก มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือกำมือไม่ถนัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอนพอใช้มือไปสักพักหนึ่งก็จะกำมือได้ดีขึ้น บางคนจะสังเกตว่าเวลางอแล้วเหยียดนิ้วมือจะได้ยินเสียงดังกึกต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งานนิ้วที่เป็นบ่อยได้แก่นิ้วหัวแม่มือนิ้วกลางและนิ้วนางอาจเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้และอาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า
อาการนิ้วล็อกเกิดจาก
การอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณโคนนิ้วมือทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้นและติดขัดในการเคลื่อนไหวขณะเหยียดนิ้วมือเมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็นเวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้มเวลาเหยียดนิ้วมือกลับไปทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกอยู่ในท่างอต้องออกแรงช่วยในการเหยียดจึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้
หากมีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดนิ้วมีเสียงดังกึกหรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดเมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อกผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจังและควรปฏิบัติดังนี้
- ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อกเล่นอาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้
- ถ้ามีอาการข้อผิดกำไม่ถนัดตอนเช้าควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำจะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
- เมื่อต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ ตะหลิวผัดกับข้าว ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง
การรักษาอาการนิ้วล็อก
- แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค ในระยะแรกอาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพื่อบรรเทาปวดและลดการอักเสบ
- การทำกายภาพ-บำบัด
- ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปที่เส้นเอ็นที่อักเสบ
ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆ ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือสะกิดส่วนของพังผืดที่หนาตัวออกไป (โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัดจะมีแผลเป็นรูเล็กๆตรงตำแหน่งที่เจาะ) ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไขต่อไป
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ เลเซอร์กำจัดขนรักแร้ Aileen
แพ็กเกจ ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยระบบ AI
แพ็กเกจ ลดปวด ออฟฟิศซินโดรม
แพ็กเกจ กระตุ้นการกลืนด้วย Vital Stim
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ฝึกกิจกรรมบำบัด
แพ็กเกจ ฝังรากฟันเทียม
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน
แพ็กเกจ ลดความอ้วน ด้วยบอลลูนในกระเพาะอาหาร
แพ็กเกจ ตรวจภูมิหลังติดเชื้อ หรือ หลังฉีดวัคซีน แบบ Quantitative
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2566
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
แพ็กเกจ สปาตา (Eyelid spa)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ฝากครรภ์ Pregnancy Program (เหมาจ่าย)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
แพ็กเกจ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก IUI
บทความสุขภาพอื่นๆ
ตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักอย่างไรให้ผอม
“หินปูนเต้านม” เสี่ยงมะเร็งเต้านม ตรวจได้ด้วยแมมโมแกรม
เตรียมบอกลารอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
ยิ่งลดยิ่งอ้วน ข้อผิดพลาดของการลดน้ำหนัก
รู้หรือไม่? ทำไมเด็ก.. ต้องทำฟันกับหมอฟันเด็กเท่านั้น!
ถ่ายเป็นเลือด สัญญานเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง
การดูแลภาวะชักจากไข้ในเด็ก
สัญญานเตือน! คุณกำลังเสี่ยง “ช่องคลอดอักเสบ”
เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)
ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?
ตรวจคัดกรองมะเร็งหลังโพรงจมูก เพิ่มโอกาสให้หายขาดได้
รู้เท่าทัน “โรคหัวใจเด็ก”
รักษาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์!
รักษาอาการปวด ด้วยคลื่นแม่เหล็ก PMS
บรรเทาปวด ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง high power laser therapy
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น “พังผืดมดลูก”
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ เสี่ยงโรคไต จริงหรือไม่
ทำอย่างไรหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ถั่วเหลือง กับ วัยทอง
VDO ความรู้สุขภาพ
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy
ฝากไข่ ลดเสี่ยง เมื่อพร้อมมีลูก
รู้ทันอาการปวดไมเกรน ภัยร้ายวัยทำงาน
ตรวจสุขภาพประจำปี
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เด็กโตก่อนวัย สัญญาณเตือน ไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสูง
รีวิวพลีชีพ! ทำ Colon Hydrotherapy (ดีท็อกซ์) สวนก้น ล้างลำไส้ ครั้งแรก
‘จมูกแรก’ ผ่านไป 6 เดือน เพื่อนทัก ปังมาก
ห้ามเลื่อนผ่าน Clip นี้..ถ้าคุณคิดจะเสริมหน้าอก
รู้ก่อน..รักษาก่อน “อาย กมลเนตร” ชวนตรวจสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีที่ยืนยาว
การส่องกล้องโพรงมดลูก แม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล เตรียมพร้อมสู่การรักษา “มีบุตรยาก”
ก้อนเต้านม ไม่ต้องผ่าก็หายได้
IUI การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
บทความโดย

ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง (Advanced Orthopedics Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02-836-9999 กด 4 หรือ *2621-2
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

