“นอนดึกจะตัวเตี้ย” คำบอกเล่าที่ผู้ใหญ่มักใช้เมื่อต้องการให้เจ้าหนูทั้งหลายเข้านอนแต่หัวค่ำ แต่รู้หรือไม่ว่า นั่นไม่ใช่เพียงคำหลอกเด็กแต่คือความจริงที่ว่าหากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กตัวเตี้ยได้ เพราะในขณะหลับร่างกายจะหลั่งสารที่เรียกว่า “Growth Hormone” ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตออกมานั่นเอง
Growth Hormone คืออะไร?
Growth Hormone คือ ฮอร์โมนสำคัญที่ถูกผลิตและหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายขณะที่มีการนอนหลับ โดย Growth Hormone จะมีการหลั่งปริมาณที่สูงในช่วงเวลา 22.00-02.00 น. และเริ่มหลั่งครั้งแรกใน 1.5-3.5 ชั่วโมงหลังจากเริ่มหลับสนิท ดังนั้น หากเด็กนอนหลับไม่สนิทหรือหลับช้ากว่าเที่ยงคืนร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ออกมาปริมาณที่น้อยกว่าปกติ
Growth hormone ปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เด็กเจริญเติบโตสมวัย การสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้การเจริญเติบโตที่สมวัยยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นนอกจาก Growth Hormone ร่วมด้วย ได้แก่ พันธุกรรมจากพ่อแม่ ภาวะโภชนาการที่เหมาะสม และการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ
หากขาด Growth Hormone ร่างกายจะเป็นอย่างไร?
• ส่วนสูงเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกันและเตี้ยกว่าเกณฑ์พันธุกรรม หากอาการรุนแรงอาจพบความสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 3 ของกลุ่มประชากร
• ลักษณะของศีรษะและใบหน้าเจริญผิดปกติ เสียงเล็กแหลม
• ในเด็กชายอาจมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย
• มวลกล้ามเนื้อและความหนาแน่นของกระดูกลดลง
• ภาวะอ้วนลงพุง
• น้ำตาลในเลือดต่ำ
• หากสาเหตุเกิดจากเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สองอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมกับการมองเห็นที่ผิดปกติ
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองเพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยของลูก
• พาไปพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำเพื่อวัดความสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความยาวรอบศีรษะ คุณหมอจะบันทึกผลในกราฟการเจริญเติบโตให้ในสมุดประจำตัว
• พาลูกเข้านอนตั้งแต่ 21.00-22.00 และก่อนนอนควรงดดูหน้าจอโทรศัพท์ แท็บเล็ตต่าง ๆ ก่อนเข้านอนเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง
• จัดอาหารที่เหมาะสมตามวัย ปริมาณเพียงพอและคุณค่าทางอาหารครบ 5 หมู่
• หากิจกรรมให้เล่นตามวัย พาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
วัยเด็กคือรากฐานการเจริญเติบโตของร่างกาย หากไม่ได้รับดูแลหรือเมื่อมีความผิดปกติแล้วแต่ไม่ได้รับการแก้ไข จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามความเหมาะสม ดังนั้น หากพบว่าการเจริญเติบโตมีความผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ เลเซอร์กำจัดขนรักแร้ Aileen
แพ็กเกจ ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยระบบ AI
แพ็กเกจ ลดปวด ออฟฟิศซินโดรม
แพ็กเกจ กระตุ้นการกลืนด้วย Vital Stim
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ฝึกกิจกรรมบำบัด
แพ็กเกจ ฝังรากฟันเทียม
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน
แพ็กเกจ ลดความอ้วน ด้วยบอลลูนในกระเพาะอาหาร
แพ็กเกจ ตรวจภูมิหลังติดเชื้อ หรือ หลังฉีดวัคซีน แบบ Quantitative
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2566
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
แพ็กเกจ สปาตา (Eyelid spa)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ฝากครรภ์ Pregnancy Program (เหมาจ่าย)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
แพ็กเกจ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก IUI
บทความสุขภาพอื่นๆ
ตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักอย่างไรให้ผอม
“หินปูนเต้านม” เสี่ยงมะเร็งเต้านม ตรวจได้ด้วยแมมโมแกรม
เตรียมบอกลารอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
ยิ่งลดยิ่งอ้วน ข้อผิดพลาดของการลดน้ำหนัก
รู้หรือไม่? ทำไมเด็ก.. ต้องทำฟันกับหมอฟันเด็กเท่านั้น!
ถ่ายเป็นเลือด สัญญานเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง
การดูแลภาวะชักจากไข้ในเด็ก
สัญญานเตือน! คุณกำลังเสี่ยง “ช่องคลอดอักเสบ”
เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)
ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?
ตรวจคัดกรองมะเร็งหลังโพรงจมูก เพิ่มโอกาสให้หายขาดได้
รู้เท่าทัน “โรคหัวใจเด็ก”
รักษาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์!
รักษาอาการปวด ด้วยคลื่นแม่เหล็ก PMS
บรรเทาปวด ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง high power laser therapy
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น “พังผืดมดลูก”
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ เสี่ยงโรคไต จริงหรือไม่
ทำอย่างไรหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ถั่วเหลือง กับ วัยทอง
VDO ความรู้สุขภาพ
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy
ฝากไข่ ลดเสี่ยง เมื่อพร้อมมีลูก
รู้ทันอาการปวดไมเกรน ภัยร้ายวัยทำงาน
ตรวจสุขภาพประจำปี
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เด็กโตก่อนวัย สัญญาณเตือน ไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสูง
รีวิวพลีชีพ! ทำ Colon Hydrotherapy (ดีท็อกซ์) สวนก้น ล้างลำไส้ ครั้งแรก
‘จมูกแรก’ ผ่านไป 6 เดือน เพื่อนทัก ปังมาก
ห้ามเลื่อนผ่าน Clip นี้..ถ้าคุณคิดจะเสริมหน้าอก
รู้ก่อน..รักษาก่อน “อาย กมลเนตร” ชวนตรวจสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีที่ยืนยาว
การส่องกล้องโพรงมดลูก แม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล เตรียมพร้อมสู่การรักษา “มีบุตรยาก”
ก้อนเต้านม ไม่ต้องผ่าก็หายได้
IUI การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
บทความโดย

แพทย์หญิง ปราญชลี ศรีกาญจนวัชร
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกุมารเวชศาสตร์ เฉพาะทางต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์ต่อมไร้ท่อและเบาหวานในเด็ก (Pediatric Endocrinology & Diabetes Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *2721-2
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง






