วันนี้มาพูดถึงโรคยอดฮิตอย่าง ‘โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น’ กันครับ จริงๆแล้ว โรคนี้เรียกกันไปหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น หมอนรองกระดูเสื่อม, เคลื่อน, ทรุด หรือทับเส้น ทั้งหมดทุกชื่อ ล้วนแล้วแต่มีพยาธิสภาพเดียวกันทั้งสิ้น
ความสำคัญของโรคนี้ คือ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งจากความเสื่อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และจากกิจกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น ก้มๆ เงยๆ, ก้มยกของ หรือ แบกของหนักเป็นเวลานานซ้ำไปซ้ำมา นอกจากนี้ โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น ยังเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการปวดหลัง, สะโพกร้าวลงขาอีกด้วย
สำหรับอาการของโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นนั้นกว้างมาก เริ่มตั้งแต่อาการปวดหลังธรรมดา, ปวดหลังเรื้อรัง, ปวดสะโพก, ปวดและชาขา ไปจนถึง ขาอ่อนแรง เดินได้ไม่ไกล เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยบางรายอาการหนัก อาจทำให้ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระ ได้เลยทีเดียว
แนวทางการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยรายนั้นๆ อาทิ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ก็สามารถรับประทานยาธรรมดาได้ แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจต้องฉีดยาพิเศษเฉพาะจุด หรือหากมีการกดทับเส้นประสาทมาก อาจถึงขั้นต้องผ่าตัดครับ
หลายท่านอาจสงสัย คำว่า ‘พยาธิสภาพ’ คืออะไร หมอขออธิบายอย่างนี้ครับ ตัวหมอนรองกระดูกนั้นประกอบไปด้วยส่วนตรงกลางและเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบๆ ตัวมันอยู่ เรียกว่า ‘นิวเคลียส’ เมื่อมีแรงกระทำต่อหมอนรองกระดูกที่เสื่อม อาจทำให้หมอนรองกระดูกเกิดมีการขยับหรือว่าปลิ้นไปทางด้านหลัง นำไปสู่การกดโดนเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้
หมอนรองกระดูกโดยปกติทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกาย และเป็นตัวให้ความยืดหยุ่น ในขณะที่มีการก้มเงย บิดตัว ของตัวกระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของมันค่อนข้างมีความสำคัญและมันต้องทำงานทุกวันแบบไม่มีเวลาพักนั่นเอง พอมันทำงานทุกวัน ก็เลยเกิดความเสื่อมขึ้น ประจวบกับกิจกรรมเสี่ยงที่ทำอยู่ ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นได้ในที่สุด
เรามาดูกันครับ ว่า 5 ความเสี่ยงในการเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นนั้น มีอะไรบ้าง
- กิจกรรมที่ต้อง ยก, ก้ม, เอี้ยว, หมุนเอวหรือหลัง ล้วนแต่ทำให้หมอนรองกระดูกต้องทำงานหนักทั้งนั้น หากหมอนรองรับน้ำหนักไม่ไหว ก็จะเคลื่อนหรือปลิ้นได้
- น้ำหนักตัวที่มาก เพิ่มโอกาสเกิดหมอนรองกระดูกหลังปลิ้น
- อาชีพเสี่ยง ได้แก่ อาชีพต้องก้ม, ยก, แบก ดัน หรือบิดตัว ล้วนทำให้เกิดแรงกระทำที่หมอนรองกระดูกหลังทั้งสิ้น
- บุหรี่ นั้นทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกลดลง ทำให้มันอ่อนแอลง
- กรรมพันธุ์ มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงด้วย ไม่มาก แต่ก็มี
จะเห็นว่า มีเพียงสาเหตุเล็กๆ สาเหตุเดียวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือ กรรมพันธุ์ ส่วนสาเหตุสำคัญอื่นๆ ล้วนหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังได้ทั้งนั้น
หลังจากเรารู้สาเหตุกันแล้ว ก็ไม่ยากที่จะหลีกเลี่ยงและป้องกัน หมอเน้นมากๆ เพราะว่าการป้องกัน ถือเป็นหนึ่งในการรักษาที่ดีที่สุดครับ
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ เลเซอร์กำจัดขนรักแร้ Aileen
แพ็กเกจ ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยระบบ AI
แพ็กเกจ ลดปวด ออฟฟิศซินโดรม
แพ็กเกจ กระตุ้นการกลืนด้วย Vital Stim
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ฝึกกิจกรรมบำบัด
แพ็กเกจ ฝังรากฟันเทียม
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน
แพ็กเกจ ลดความอ้วน ด้วยบอลลูนในกระเพาะอาหาร
แพ็กเกจ ตรวจภูมิหลังติดเชื้อ หรือ หลังฉีดวัคซีน แบบ Quantitative
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2566
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
แพ็กเกจ สปาตา (Eyelid spa)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ฝากครรภ์ Pregnancy Program (เหมาจ่าย)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
แพ็กเกจ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก IUI
บทความสุขภาพอื่นๆ
ตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักอย่างไรให้ผอม
“หินปูนเต้านม” เสี่ยงมะเร็งเต้านม ตรวจได้ด้วยแมมโมแกรม
เตรียมบอกลารอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
ยิ่งลดยิ่งอ้วน ข้อผิดพลาดของการลดน้ำหนัก
รู้หรือไม่? ทำไมเด็ก.. ต้องทำฟันกับหมอฟันเด็กเท่านั้น!
ถ่ายเป็นเลือด สัญญานเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง
การดูแลภาวะชักจากไข้ในเด็ก
สัญญานเตือน! คุณกำลังเสี่ยง “ช่องคลอดอักเสบ”
เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)
ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?
ตรวจคัดกรองมะเร็งหลังโพรงจมูก เพิ่มโอกาสให้หายขาดได้
รู้เท่าทัน “โรคหัวใจเด็ก”
รักษาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์!
รักษาอาการปวด ด้วยคลื่นแม่เหล็ก PMS
บรรเทาปวด ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง high power laser therapy
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น “พังผืดมดลูก”
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ เสี่ยงโรคไต จริงหรือไม่
ทำอย่างไรหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ถั่วเหลือง กับ วัยทอง
VDO ความรู้สุขภาพ
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy
ฝากไข่ ลดเสี่ยง เมื่อพร้อมมีลูก
รู้ทันอาการปวดไมเกรน ภัยร้ายวัยทำงาน
ตรวจสุขภาพประจำปี
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เด็กโตก่อนวัย สัญญาณเตือน ไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสูง
รีวิวพลีชีพ! ทำ Colon Hydrotherapy (ดีท็อกซ์) สวนก้น ล้างลำไส้ ครั้งแรก
‘จมูกแรก’ ผ่านไป 6 เดือน เพื่อนทัก ปังมาก
ห้ามเลื่อนผ่าน Clip นี้..ถ้าคุณคิดจะเสริมหน้าอก
รู้ก่อน..รักษาก่อน “อาย กมลเนตร” ชวนตรวจสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีที่ยืนยาว
การส่องกล้องโพรงมดลูก แม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล เตรียมพร้อมสู่การรักษา “มีบุตรยาก”
ก้อนเต้านม ไม่ต้องผ่าก็หายได้
IUI การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
บทความโดย

นายแพทย์ เกรียงศักดิ์ เล็กเครือสุวรรณ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านคลินิกระงับปวด และผ่าตัด ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง (Advanced Orthopedics Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02-836-9999 กด 4 หรือ *2621-2
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

