ยาคุมกำเนิดในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายชนิดตามความสะดวกและเหมาะสมกับผู้ใช้ ทั้งชนิดรับประทาน ฉีด ใส่ห่วง และฝัง เป็นต้น นอกจากยาคุมกำเนิดใช้เพื่อคุมกำเนิดแล้ว ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานหรือฉีดยังสามารถใช้รักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย แล้วจริงหรือไม่ที่ว่ายาคุมกำเนิดเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด “มะเร็งเต้านม”
ทำไมการกินยาคุมจึงเสี่ยงเกิด “มะเร็งเต้านม” ?
หนึ่งในการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมคือการที่เต้านมถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนในร่างกายเป็นระยะเวลานาน ทั้งฮอร์โมนจากภายในร่างกาย เช่น การที่ประจำเดือนมาเร็วก่อนอายุ 12 ปี ประจำเดือนหมดช้ากว่า 55 ปี การไม่มีลูก เป็นต้น และภายนอกร่างกาย เช่น การใช้ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนชดเชยหลังหมดประจำเดือน ดังนั้นการใช้ยาคุมกำเนิดที่จัดได้ว่าเป็นฮอร์โมนจากภายนอกร่างกายจึงสามารถทำให้ความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นได้
ยาคุมกำเนิดในปัจจุบันแยกออกเป็น 2 ชนิดตามส่วนประกอบของฮอร์โมน คือ ชนิดฮอร์โมนที่ประกอบไปด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนผสมกัน (Combined hormonal contraception) กับประเภทฮอร์โมนเดี่ยวที่ประกอบไปด้วยโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว (Progesterone-only contraception)
ทั้งสองชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมได้ทั้งคู่ ประมาณ 1.5 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไปที่ไม่ใช้ฮอร์โมน แต่ต่างกันที่ชนิดฮอร์โมนเดี่ยวหรือโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียวจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าชนิดสองฮอร์โมน อีกทั้งยาคุมกำเนิดไม่ว่าชนิดรับประทาน ฉีด ฝัง ใส่ห่วงชนิดมีฮอร์โมนล้วนแต่สามารถเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมได้ทั้งสิ้น แต่หากหยุดยาไปนานกว่า 10 ปี ความเสี่ยงจะกลับมาเท่าคนทั่วไปได้
คุมกำเนิดอย่างไรให้เสี่ยง “มะเร็งเต้านม!” น้อยที่สุด
- ใช้ยาคุมกำเนิดเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น เช่นหากใช้รักษาโรคเมื่อตัวโรคดีขึ้นแล้วให้หยุดยา
- เปลี่ยนเป็นใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดที่ไม่มีฮอร์โมนแทน เช่น ถุงยางอนามัย ทำหมัน ใส่ห่วงชนิดที่ไม่มีฮอร์โมน เป็นต้น
- ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสม จะความเสี่ยงน้อยกว่าชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
แม้จะฟังดูน่าวิตกกังวล แต่ยาคุมกำเนิดเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเท่านั้น ไม่ใช่สาเหตุหลักแต่อย่างใด และยังคงมีความเสี่ยงมาจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ดังนั้น หากมีความจำเป็นในการใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องควรอยู่ในการควบคุมและดูแลของแพทย์ รวมถึงควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอยู่เสมอ
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ เลเซอร์กำจัดขนรักแร้ Aileen
แพ็กเกจ ตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยระบบ AI
แพ็กเกจ ลดปวด ออฟฟิศซินโดรม
แพ็กเกจ กระตุ้นการกลืนด้วย Vital Stim
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ฝึกกิจกรรมบำบัด
แพ็กเกจ ฝังรากฟันเทียม
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
แพ็กเกจ ตรวจสมดุลฮอร์โมน
แพ็กเกจ ลดความอ้วน ด้วยบอลลูนในกระเพาะอาหาร
แพ็กเกจ ตรวจภูมิหลังติดเชื้อ หรือ หลังฉีดวัคซีน แบบ Quantitative
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพประจำปี 2566
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกัน โรคไข้เลือดออก
แพ็กเกจ สปาตา (Eyelid spa)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจ ฝากครรภ์ Pregnancy Program (เหมาจ่าย)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
แพ็กเกจ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก IUI
บทความสุขภาพอื่นๆ
ตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักอย่างไรให้ผอม
“หินปูนเต้านม” เสี่ยงมะเร็งเต้านม ตรวจได้ด้วยแมมโมแกรม
เตรียมบอกลารอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ
ยิ่งลดยิ่งอ้วน ข้อผิดพลาดของการลดน้ำหนัก
รู้หรือไม่? ทำไมเด็ก.. ต้องทำฟันกับหมอฟันเด็กเท่านั้น!
ถ่ายเป็นเลือด สัญญานเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง
การดูแลภาวะชักจากไข้ในเด็ก
สัญญานเตือน! คุณกำลังเสี่ยง “ช่องคลอดอักเสบ”
เทคนิคการกำจัดก้อนเนื้อที่เต้านม ด้วย Vacuum Assisted Breast Excision (VAE)
ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ?
ตรวจคัดกรองมะเร็งหลังโพรงจมูก เพิ่มโอกาสให้หายขาดได้
รู้เท่าทัน “โรคหัวใจเด็ก”
รักษาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์!
รักษาอาการปวด ด้วยคลื่นแม่เหล็ก PMS
บรรเทาปวด ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง high power laser therapy
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้
ปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น “พังผืดมดลูก”
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ เสี่ยงโรคไต จริงหรือไม่
ทำอย่างไรหากมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ถั่วเหลือง กับ วัยทอง
VDO ความรู้สุขภาพ
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
รู้จักกับ ออกซิเจนบำบัด Hyperbaric Oxygen Therapy
ฝากไข่ ลดเสี่ยง เมื่อพร้อมมีลูก
รู้ทันอาการปวดไมเกรน ภัยร้ายวัยทำงาน
ตรวจสุขภาพประจำปี
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เด็กโตก่อนวัย สัญญาณเตือน ไม่ใช่เรื่องปกติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสูง
รีวิวพลีชีพ! ทำ Colon Hydrotherapy (ดีท็อกซ์) สวนก้น ล้างลำไส้ ครั้งแรก
‘จมูกแรก’ ผ่านไป 6 เดือน เพื่อนทัก ปังมาก
ห้ามเลื่อนผ่าน Clip นี้..ถ้าคุณคิดจะเสริมหน้าอก
รู้ก่อน..รักษาก่อน “อาย กมลเนตร” ชวนตรวจสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีที่ยืนยาว
การส่องกล้องโพรงมดลูก แม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล เตรียมพร้อมสู่การรักษา “มีบุตรยาก”
ก้อนเต้านม ไม่ต้องผ่าก็หายได้
IUI การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
บทความโดย

แพทย์หญิง ตรีทิพย์ เกิดสินธ์ชัย
แพทย์เฉพาะทางด้านเต้านมและเสริมสร้างเต้านม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์รักษ์เต้านม WMC ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 กด 4 หรือ ต่อ * 2621
Line : @wmcbreast