หลายคนอาจเคยได้ยินเชื้อไวรัสเอชพีวีสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก แต่รู้หรือไม่ว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวไม่ได้พบในเพศหญิงเพียงอย่างเดียว เพศชายก็สามารถติดเชื้อและเป็นโรคร้ายได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความน่ากลัวของเชื้อไวรัสตัวร้ายนี้มักไม่แสดงอาการ ทำให้หลายคนมักชะล่าใจ กว่าจะรู้ตัวอีกทีเชื้อก็ลุกลามและอาจเป็นมะเร็งได้ในที่สุด
เชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) คืออะไร?
เชื้อไวรัสเอชพีวี หรือ Human Papilloma virus (HPV) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยการสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงสามารถแพร่ผ่านรอยแผลตามผิวหนังได้ อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ของเชื้อเอชพีวีมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่มีประมาณ 40 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรค ได้แก่ หูดบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึง 15 สายพันธุ์ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกและอวัยวะเพศได้
เชื้อไวรัสเอชพีวีก่อให้เกิดโรคอะไรบ้าง
• เพศหญิง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ
• เพศชาย มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ
ปัจจัยเสี่ยง
• มีคู่นอนหลายคน
• มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
• ผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
• มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
• สูบบุหรี่
การป้องกันความเสี่ยง
ปัจจุบันยังไม่มียาเพื่อการรักษาภาวะติดเชื้อเอชพีวี มีเพียงวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น อย่างไรก็ดีเราสามารถป้องกันเชื้อเอชพีวีได้ดังนี้
• สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
• ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน
• ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ
• การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี
วัคซีนเอชพีวีช่วยป้องกันได้อย่างไร ?
สำหรับการวัคซีนเอชพีวี ปัจจุบันมีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่
• ชนิด 4 สายพันธุ์ ช่วยป้องกันเชื้อสายพันธุ์ 6 11 16 18
• ชนิด 9 สายพันธุ์ ช่วยป้องกันเชื้อสายพันธุ์ 6 11 16 18 31 33 45 52 และ 58
การฉีดวัคซีนเอชพีวีสามารถฉีดได้ในผู้หญิงและผู้ชาย ตั้งแต่อายุ 9 – 45 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุเหมาะสมที่สุดในการป้องกัน
หากได้รับวัคซีนก่อนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว สามารถฉีดวัคซีนเอชพีวีได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการป้องกันอาจจะลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
• ช่วงอายุตั้งแต่ อายุ 9 – 15 ปี ควรรับวัคซีน 2 เข็ม ได้แก่ เข็มที่ 1 วันที่ต้องการฉีด และเข็มที่ 2 ฉีดหลังจากวันแรก 6 – 12 เดือน
• ช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป ควรรับวัคซีน 3 เข็ม ได้แก่ เข็มที่ 1 วันที่ต้องการฉีด เข็มที่ 2 ฉีดหลังจากวันแรก 1 – 2 เดือน และเข็มที่ 3 ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน
• ผู้หญิงอายุ 45 ปี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
ดังนั้นจะเห็นว่า แม้เชื้อไวรัสเอชพีวีจะก่อให้เกิดโรคได้มากมายทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยเฉพาะมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ในปัจจุบันเราสามารถป้องกันได้ด้วย การรักษาสุขภายพร่างกายให้แข็งแรง การรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ค้นพบรอยโรคและรักษาโดยเร็ว “HPV ไวรัสร้าย แต่ป้องกันได้ หากเราใส่ใจ”
แพ็กเกจแนะนำ
โปรโมชั่น ฝากครรภ์ – คลอด สุดคุ้ม!
สิทธิประกันสังคม ม.33 และ 39 รักษาโรคหัวใจ 7 หัตถการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้องสำรองจ่าย
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingrix Vaccine)
แพ็กเกจ ตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
รักษาก้อนเต้านม ด้วยการจี้เย็น (Cryoablation)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 15 สายพันธุ์
แพ็กเกจ รักษาภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย (Enantone)
แพ็กเกจ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Liquid Prep Test)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
รักษาภูมิแพ้ น้ำมูกไหลเรื้อรัง ด้วยการจี้เย็น (Nasal Cryosurgery)
แพ็กเกจ Health Check
แพ็กเกจ เลเซอร์กระชับช่องคลอด
บทความสุขภาพอื่นๆ
“ต้อกระจก” ภัยเงียบ ที่อาจพรากการมองเห็น หากไม่รีบรักษา
โรคหลอดเลือดหัวใจ : ภัยเงียบที่ต้องระวัง ปล่อยไว้เสี่ยงเสียชีวิตสูง
ปรับเก้าอี้อย่างไรให้ถูกต้อง? ลดอาการปวดจาก Office Syndrome
สู้งาน แต่ปวดหลัง : ออฟฟิศซินโดรมสู้กลับ
รู้เท่าทัน “ผดร้อนในทารก” ปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน
ไขมันในเลือดสูง: สารตั้งต้นสู่โรคร้ายที่ควรรู้
โรคหัวใจโต (Cardiomegaly) รู้เท่าทันก่อนสายเกินไป
“โรคหัวใจ” ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในผู้ป่วยเบาหวาน
“ปวดขา” หลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน แผ่นดินไหว? แพทย์แนะวิธีดูแลกล้ามเนื้ออักเสบที่คุณทำเองได้
ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Total Knee Arthroplasty )
“แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ในเด็ก”…ตัวช่วยป้องกันฟันผุ
เทคโนโลยีใหม่! อองโคเทอร์เมีย (Oncothermia) ทางรอดผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
ทำไม? ค่า HbA1c ในผลตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญ
รักษามะเร็งปากมดลูกด้วย Oncothermia: นวัตกรรมคลื่นความร้อนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
ไขข้อสงสัย: ความแตกต่างของ “โพรไบโอติก VS พรีไบโอติก”คือ ?
มาทำความรู้จัก “ไข้อีดำอีแดง”
โรคเก๊าท์…ภาวะที่ทำให้เราปวดข้อ!
วัคซีน “ไข้หวัดใหญ่” ในเด็กและผู้ใหญ่ ฉีดต่างกันอย่างไร?
อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ รับประทานอย่างไร ให้ห่างไกลโรค
“รูมาตอยด์” โรคข้ออักเสบที่ไม่ควรมองข้าม
VDO ความรู้สุขภาพ
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
บทความโดย

แพทย์หญิง เบญจวรรณ ลิมป์วนัสพงศ์
แพทย์ชำนาญพิเศษ สูติศาสตร์นรีเวชวิทยาการผ่าตัดและวินิจฉัยผ่านกล้องทางนรีเวช
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology Center) ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02-836-9999 ต่อ *4721
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง





