กระดูกคอเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยสาเหตุเกิดจากความเสื่อมของกระดูกคอและหมอนรองกระดูกคอ ซึ่งอาการจะเป็นมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
โดยพบว่ามากถึง 85% ของผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 60 ปีนั้นมีหมอนรองกระดูกคอเสื่อม บางรายไม่แสดงอาการ บางรายมีอาการร่วมด้วยมากน้อยแตกต่างกัน หากความเสื่อมเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหรือชา เหตุมาจากข้อต่อบริเวณคอเสื่อมและอักเสบ, กล้ามเนื้อคอทำงานหนักมากขึ้น, ช่องเส้นประสาทบริเวณคอปิดแคบลงทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ รวมไปถึงการขยับของหมอนรองกระดูกคอที่ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม โดยอาการที่เป็นไปได้จากกระดูกคอและหมอนรองกระดูกคอเสื่อม คือ
- อาการปวดคอ สะบัก ร้าวไปที่แขน บางรายร้าวไปถึงมือ อาการสัมพันธ์กับท่าทางของคอโดยเฉพาะท่าหันและเงยศีรษะ
- ปวดแปล๊บๆ เหมือนไฟดูด หรือมีอาการชาบริเวณดังกล่าว ร้าวไปที่แขนมือ หรือ บริเวณนิ้ว
- ลายมือเปลี่ยนไป ติดกระดุมไม่ถนัด หรือใช้มือได้ไม่คล่องเหมือนเคย
- มืออ่อนแรง ยกขวดน้ำ หรือแก้วน้ำไม่ไหว
- ผู้ป่วยมีอาการเดินได้ลำบากขึ้น ทรงตัวได้แย่ลง หากเป็นมากขึ้นจะเดินช้าลงและเดินกางขาโดยไม่รู้ตัวหากการกดทับเส้นประสาทเป็นไปมากแล้วผู้ป่วยจะไม่สามารถกกลั้นปัสสาวะหรือกลั้นอุจจาระได้
อาการเหล่านี้ มีสาเหตุได้จาก
- ตัวหมอนรองกระดูกนั้นมีอาการเสื่อมร่วมกับเสียความยืดหยุ่น ส่งผลให้หมอนรองกระดูกมีความสูงที่ลดลง หากทรุดลงมากอาจพบกระดูกคอเกิดการสัมผัสกดกัน เกิดอาการปวดขึ้น ซึ่งความเสื่อมนี้มักจะพบหลังจากอายุ 40 ปี
- เกิดจากหมอนรองกระดูกคอมีการเคลื่อนหรือแตก ส่งผลให้ตัวเนื้อหมอนรองกระดูกนั้นไปทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าว ชา หรืออ่อนแรงบริเวณสะบัก แขน หรือมือได้
- ถัดไปคือกระดูกงอก เมื่อความเสื่อมเป็นไปมากขึ้น ตัวกระดูกคอจะมีการงอกออกมาเพื่อทดแทนความแข็งแรงของกระดูกคอและหมอนรองกระดูกคอที่เสื่อมไป กระดูกที่งอกออกมานี้เองที่จะกดทับต่อเส้นประสาทคอ หรือโคนเส้นประสาทคอ ส่งผลทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้
- เกิดจากการตึงตัวและการอักเสบของตัวเอ็นที่อยู่รอบๆ ข้อต่อกระดูกคอ ส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวบริเวณคอ ได้โดยอาการจะสัมพันธ์กับท่าทางและกิจกรรมต่างๆ
แนวทางการรักษา
การรักษาโรคกระดูกคอเสื่อม สามารถทำได้โดยเริ่มจากการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด เพราะอาการดังกล่าวสามารถเกิดจาก กระดูก, ข้อต่อ, กล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก, หรือเส้นประสาทก็ได้ แพทย์จะใช้การซักประวัติ และตรวจร่างกายเป็นหลักในการวินิจฉัยหาสาเหตุ บางครั้งอาจต้องใช้เอ็กซเรย์ (X-ray) หรือ MRI เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา
หลังจากทราบสาเหตุที่แท้จริงแล้ว แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย ซึ่งพบว่าการรักษาโดยไม่ผ่าตัดนั้นได้ผลดีกับโรคกระดูกคอเสื่อมทั้งที่อาการเพิ่งเริ่มเป็น และเป็นไปมากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยา หรือการฉีดยาด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นมากแล้ว ก็สามารถมีอาการดีขึ้นจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดได้
การฉีดยาด้วยเทคนิคพิเศษนี้ จะฉีดภายใต้เครื่องเอ็กซเรย์ (X-ray) ซึ่งทำให้มีความแม่นยำและใช้ยาปริมาณน้อย ทำให้ผู้ป่วยจะได้รับความเจ็บปวดน้อยที่สุด โดยยาที่ฉีดประกอบไปด้วยยาลดการอักเสบและยาลดปวด ส่งผลให้อาการปวด อาการชา และอ่อนแรงของผู้ป่วยลดลงในระยะเวลาต่อมา นอกจากนี้การฉีดยาบริเวณเส้นประสาทคอนั้นสามารถช่วยในการวินิจฉัย และช่วยยืนยันตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกดทับและเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าวเพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาในอนาคตได้อีกด้วย
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด จึงเหมาะกับ
- ผู้ป่วยที่มีอาการเสื่อมยังไม่มาก
- ผู้ป่วยที่อาการเป็นมากขึ้น รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
- ผู้ป่วยที่มีอาการมากแล้ว แต่ไม่อยากได้รับความเสี่ยงจากการผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัด แต่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถเข้าผ่าตัดได้
การรักษาที่ถูกต้องจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมาจากการวินิจฉัยที่ถูกต้องด้วย ขั้นตอนการวินิจฉัยหาสาเหตุและตำแหน่งของข้อต่อที่อักเสบ หรือเส้นประสาทที่ถูกกดทับถึงสำคัญที่สุดครับ
สุดท้ายนี้ แม้ว่าโรคกระดูกคอเสื่อมจะเป็นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่การหลีกเลี่ยงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมไปถึงการฝึกกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง จะสามารถชะลอการเสื่อมและทำให้มีอาการลดลงได้ รวมไปถึงการรักษาโรคนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะรักษาง่ายกว่า และได้ผลการรักษาที่ดีกว่าครับ วันนี้หมอลาไปก่อน พบกันใหม่บทความหน้าครับ
แพ็กเกจแนะนำ
ํYear End Sale มหกรรมสุขภาพและความงามลดสูงสุดกว่า 70% : 1-31 ธันวาคมนี้
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ฟอกไต อุ่นใจ ทุกสิทธิการรักษา เลือกโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
แพ็กเกจ จัดฟันใส
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
สิทธิประกันสังคม ม.33 และ 39 รักษาโรคหัวใจ 7 หัตถการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้อสำรองจ่าย
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingrix Vaccine)
แพ็กเกจ ตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหลังการรักษาโควิด-19
รักษาก้อนเต้านม ด้วยการจี้เย็น (Cryoablation)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 15 สายพันธุ์
แพ็กเกจ รักษาภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย (Enantone)
แพ็กเกจ Teslasculpt 4D
บทความสุขภาพอื่นๆ
รู้ทันสัญญาณอันตราย “ โนโรไวรัส (Norovirus) “
รู้ทัน “ไวรัสอะดิโน (Adenovirus)” โรคใกล้ตัวลูกน้อย
PCOS ถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภัยเงียบใกล้ตัวผู้หญิงอย่างวางใจ
“ไอกรน” โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่ต้องรู้จักและป้องกัน
เทคโนโลยี Oncothermia กับการรักษาโรคมะเร็งตับ การผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับการรักษาแผนปัจจุบัน
สัญญาณเตือน! โรคเบาหวานขึ้นตา
ปัญหาใหญ่หญิงสูงวัย “ช่องคลอดหย่อน” เป็นแล้วรักษาอย่างไร?
โรคภูมิแพ้ขึ้นตา อันตรายกว่าที่คิด
การรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วย Oncothermia : ทางเลือกใหม่ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ ความเจ็บปวดใกล้ตัวผู้หญิง
ทำไม? เราถึงควรฉีดวัคซีน HPV
ฝ้าบนใบหน้า มีกี่ชนิด?
“Nasal Cryosurgery” รักษาภูมิแพ้ด้วยความเย็น
“Oncothermia” เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง
เช็กด่วน! ปวดประจำเดือนมากจนผิดสังเกตอาจเสี่ยงโรคอะไรบ้าง?
“โรคหนองใน” โรคที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก ผ่านกล้อง Endoscope
การใช้ออกซิเจนแรงดันสูง (HBOT) ในการรักษามะเร็ง
การใช้วิตามินซีความเข้มข้นสูง(Megadose vitamin C) ในการรักษามะเร็ง
บอกลา “แผลเป็นคีลอยด์”
VDO ความรู้สุขภาพ
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
บทความโดย
นายแพทย์ เกรียงศักดิ์ เล็กเครือสุวรรณ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านคลินิกระงับปวด และผ่าตัด ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง (Advanced Orthopedics Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร 02-836-9999 กด 4 หรือ *2621-2