ในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ร่างกายอาจอ่อนแอป่วยเป็นหวัด มีอาการจาม คัดแน่นจมูก ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีความผิดปกติใดๆ แต่หากมีอาการหวัดเรื้อรังเป็นๆหายๆ บ่อยครั้ง อีกทั้งยังมีอาการของไซนัสอักเสบร่วมด้วยอย่านิ่งนอนใจเพราะอาจจะเผชิญกับ โรคริดสีดวงจมูก
ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyps) เกิดจากการที่เยื่อบุจมูกอักเสบ บวมขึ้นเรื่อยๆ มีน้ำคั่ง กลายเป็นก้อนในจมูก เหตุผลที่เรียกริดสีดวงจมูกเนื่องจากมีลักษณะเป็นก้อนคล้ายริดสีดวงทวารที่ยื่นออกมาในจมูก อาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อน เป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังจากโรคหอบหืด ภูมิแพ้ หรือความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน อาจไม่ทำให้เกิดอาการ แต่หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ จะทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก มีปัญหาในการดมกลิ่น หรือเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงจมูก
โรคภูมิแพ้ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้เกิดโรคริดสีดวงจมูก ซึ่งมีการอักเสบของเยื่อบุจมูกเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน เมื่อมีการอักเสบนานๆ เยื่อบุจมูกจะมีการบวมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในคนที่ไม่รักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง ปล่อยให้มีการอักเสบซ้ำๆ เยื่อบุจมูกก็จะบวมออกมากลายเป็นริดสีดวงจมูก ทั้งนี้การอักเสบเรื้อรังจะมี 2 แบบด้วยกัน คือ เยื่อบุอักเสบจากภูมิแพ้ และเยื้อบุอักเสบชนิดไม่แพ้ ทั้ง 2 อย่างทำให้เกิดริดสีดวงจมูกได้ทั้งนั้น หรือในคนไข้ที่เป็น ไซนัสอักเสบเรื้อรังนาน ๆ เยื่อบุของไซนัสก็จะบวมออกมากลายเป็นริดสีดวงได้ แต่เราจะไม่เรียกริดสีดวงไซนัส
อาการของคนที่เป็นริดสีดวงจมูก
ถ้าขนาดไม่โตมากคนไข้อาจจะไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าเยื่อบุจมูกบวมมาก ๆ อากาศผ่านจมูกไม่ได้ คนไข้จะมีอาการคัดแน่นจมูก นอกจากนี้จมูกยังมีหน้าที่รับกลิ่น เมื่อไหร่ก็ตามอากาศไม่สามารถเข้าไปในจมูกถึงเซลล์ประสาทรับกลิ่นได้ก็จะทาให้คนไข้มีปัญหาเรื่องการรับกลิ่นเสียไป หรือไม่ได้กลิ่น อย่างที่บอกริดสีดวงจมูกจะเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้และการอักเสบเรื้อรัง นอกจากอาการคัดจมูกแล้ว คนไข้อาจจะมีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล ร่วมด้วย หรือถ้าริดสีดวงจมูกไปอุดรูเปิดของไซนัสที่เปิดเข้ามาในโพรงจมูก คนไข้อาจจะมีไซนัสอักเสบร่วมด้วย
จากอาการที่กล่าวมานั้นหากพบว่าตนเองมีอาการร่วมเป็นเวลาตั้งแต่ 10 วันขึ้นไป หรือมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่ มีปัญหาด้านการมองเห็นอย่างรุนแรงขยับดวงตาไม่ค่อยได้ หรือมองภาพได้ไม่ชัด รวมไปถึงอาการด้านอื่น ๆ เช่น อาการปวดศีรษะรุนแรงกว่าปกติ หากใครพบว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยหาก้อนเนื้อในโพรงจมูก ดังนี้
• การใช้กล้องส่อง
• การตรวจด้วยเครื่อง CT Scan
• การทดสอบอาการภูมิแพ้ทางผิวหนัง
• การตรวจเลือดคัดกรองภูมิต้านทาน
วิธีการรักษา
จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ในส่วนของผู้ป่วยเองควรหมั่นสังเกตุตัวเอง อันดับแรกต้องรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ริดสีดวงจมูกโตมากขึ้น ผู้ป่วยจะได้หลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ส่วนการรักษาริดสีดวงจมูกทำได้ 2 วิธีคือ เริ่มต้นจากการรักษาโดยใช้ยา หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์จะรักษาด้วยวิธีผ่าตัด โดยมีรายละเอียดดังนี้
การให้ยา ยาหลักในการรักษาที่สำคัญ คือ ยา สเตียรอยด์ มีทั้งชนิดกินและชนิดฉีดพ่นเข้าไปในจมูก ทาให้ริดสีดวงจมูกยุบและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานใช้นานไม่ได้ จะ ใช้ได้ช่วงสั้นๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้นยาหลักในการ รักษาระยะยาวคือยาสเตียรอยด์ชนิดพ่น ซึ่งปลอดภัยกว่า และสามารถพ่นได้นานหลายเดือน หรือหลายปี
การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ให้ยาเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น ยังมีอาการคัดแน่นจมูก ไม่ได้กลิ่นหรือให้ยา เต็มที่แล้วดีขึ้น แต่ลดยาไม่ได้ พอลดยาลงคนไข้กลับมามีอาการเหมือนเดิม ในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณา การผ่าตัดให้กับคนไข้
การดูแลและป้องกันริดสีดวงจมูก
ในการป้องกันริดสีดวงจมูก ทำได้โดยการลดโอกาสเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดริดสีดวงจมูกหรือลดการเกิดซ้ำหลังการรักษา โดยมีแนวทางดังนี้
• ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดในการรักษาโรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืด
• ให้ความสำคัญกับการล้างจมูกโดยใช้น้ำเกลือ เพื่อชะล้างสารก่อภูมิแพ้ และลดการระคายเคืองของจมูก
• หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หรือการอักเสบของโพรงจมูก เช่น สารก่อภูมิแพ้ ควันบุหรี่ หรือฝุ่นละออง
• ดูแลเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย
จมูกเป็นอวัยวะสำคัญที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย การหายใจเข้าอาจนำเชื้อโรคจากในอากาศเข้าไปด้วย ดังนั้นหลังการรักษาผู้ป่วยควรปฏิบัติตนตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เมื่อรักษาหายแล้วควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นภูมิแพ้ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ จนโรคริดสีดวงจมูกกลับมาเกิดซ้ำได้อีก
แพ็กเกจแนะนำ
สิทธิประกันสังคม ม.33 และ 39 รักษาโรคหัวใจ 7 หัตถการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้องสำรองจ่าย
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingrix Vaccine)
แพ็กเกจ ตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
รักษาก้อนเต้านม ด้วยการจี้เย็น (Cryoablation)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 15 สายพันธุ์
แพ็กเกจ รักษาภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย (Enantone)
แพ็กเกจ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Liquid Prep Test)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
รักษาภูมิแพ้ น้ำมูกไหลเรื้อรัง ด้วยการจี้เย็น (Nasal Cryosurgery)
แพ็กเกจ Health Check
แพ็กเกจ เลเซอร์กระชับช่องคลอด
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
บทความสุขภาพอื่นๆ
ปรับเก้าอี้อย่างไรให้ถูกต้อง? ลดอาการปวดจาก Office Syndrome
สู้งาน แต่ปวดหลัง : ออฟฟิศซินโดรมสู้กลับ
รู้เท่าทัน “ผดร้อนในทารก” ปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน
ไขมันในเลือดสูง: สารตั้งต้นสู่โรคร้ายที่ควรรู้
หัวใจโต โรคใกล้ตัวที่คุณต้องรู้
“โรคหัวใจ” ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในผู้ป่วยเบาหวาน
“ปวดขา” หลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน แผ่นดินไหว? แพทย์แนะวิธีดูแลกล้ามเนื้ออักเสบที่คุณทำเองได้
ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Total Knee Arthroplasty )
“แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ในเด็ก”…ตัวช่วยป้องกันฟันผุ
เทคโนโลยีใหม่! อองโคเทอร์เมีย (Oncothermia) ทางรอดผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
ทำไม? ค่า HbA1c ในผลตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญ
รักษามะเร็งปากมดลูกด้วย Oncothermia: นวัตกรรมคลื่นความร้อนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
ไขข้อสงสัย: ความแตกต่างของ “โพรไบโอติก VS พรีไบโอติก”คือ ?
มาทำความรู้จัก “ไข้อีดำอีแดง”
โรคเก๊าท์…ภาวะที่ทำให้เราปวดข้อ!
วัคซีน “ไข้หวัดใหญ่” ในเด็กและผู้ใหญ่ ฉีดต่างกันอย่างไร?
อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ รับประทานอย่างไร ให้ห่างไกลโรค
“รูมาตอยด์” โรคข้ออักเสบที่ไม่ควรมองข้าม
“การรักษามะเร็งลำไส้ ด้วยเครื่องอองโคเทอร์เมีย”
โรคที่ไม่ควรมองข้าม “เดอกาแวง” โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
VDO ความรู้สุขภาพ
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
บทความโดย

นายแพทย์ ปวีณ เพชรรักษ์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยา
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์โสต-ศอ-นาสิก เฉพาะทาง (Advanced Rhino-Otolaryngology) ชั้น 3
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 ต่อ *3921
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง


