ต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ช่วยผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมกระบวนการเผาผลาญ กระตุ้นการเต้นของหัวใจ รักษาสมดุลอุณหภูมิในร่างกาย และการหลั่งเหงื่อ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายทุกระบบ ได้แก่
ผลกระทบจากโรคไทรอยด์
- โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ โรคคอพอก
- อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ/ มีความเสี่ยงภาวะหัวใจวาย
- อาการภาวะสมองขาดเลือด / ทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิต
“ไทรอยด์เป็นพิษ” คืออะไร?
โรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสูงเกินความจำเป็น ทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานทำงานมากผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ผมร่วง นอนไม่หลับ และอารมณ์แปรปรวน
สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยมีปัจจัยสำคัญ ดังนี้
- ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากผิดปกติ
- ต่อมไทรอยด์อักเสบ ทำให้ฮอร์โมนที่สะสมไว้ถูกปล่อยออกมาทีละมาก ๆ
- ได้รับฮอร์โมนไทรอยด์เกิน จากการใช้ยา หรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของไทรอยด์ฮอร์โมน
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาอะมิโอดาโรน
- ภาวะแพ้ท้องอย่างรุนแรง หรือมีเนื้องอกในรังไข่ที่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้
- เนื้องอกของต่อมใต้สมอง ที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์มากเกินไป
อาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เช่น
- ต่อมไทรอยด์ บริเวณลำคอ บวมหรือโตขึ้น
- ง่วง ซึม เครียด นอนไม่หลับ
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น ผมร่วง
- เหงื่อออกมาก รู้สึกหนาวตลอดเวลา อารมณ์แปรปรวน
- หิวบ่อย กินมากขึ้น แต่น้ำหนักลด หรือ ตัวบวม น้ำหนักขึ้น
- ถ่ายเหลวบ่อย ประจำเดือนมาผิดปกติ
การตรวจวินิจฉัยโรค
การตรวจต่อมไทรอยด์สามารถทำได้หลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับอาการและความสงสัยของแพทย์ว่ามีภาวะผิดปกติหรือไม่ โดยทั่วไปมีวิธีตรวจที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังนี้
1. การซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น
- แพทย์จะสอบถามอาการ เช่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย ผมร่วง น้ำหนักเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
- ตรวจลำคอเพื่อหาก้อน หรืออาการบวมบริเวณต่อมไทรอยด์
2.การเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์
เป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด ประกอบด้วย
- TSH ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
- Free T3 และ Free T4 วัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในกระแสเลือด
ถ้า TSH ต่ำ แต่ T3 และ T4 สูง มักบ่งชี้ว่าเป็นไทรอยด์เป็นพิษ
3. การอัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์
- ตรวจดูขนาด รูปร่าง และลักษณะของก้อนในต่อมไทรอยด์
4. การกลืนแร่รังสี (RAIU) หรือ สแกนไทรอยด์ (Thyroid scan)
- ใช้เพื่อดูการดูดซึมของต่อมไทรอยด์ ว่าทำงานมากหรือน้อยเกินไป
- ใช้ตรวจหาสาเหตุของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เช่น โรคเกรฟส์ หรือก้อนร้อน (Toxic nodule)
การตรวจที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับอาการ และข้อสงสัยของแพทย์ หากคุณมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ไทรอยด์ ถ้าไม่รีบรักษาอันตรายแค่ไหน?
หากปล่อยให้โรคไทรอยด์โดยเฉพาะภาวะ ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) หรือ ไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) ดำเนินไปโดยไม่รักษา อาจก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายและชีวิตได้ ดังนี้
- ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ผลต่อสมองและระบบประสาท
- ผลต่อระบบเผาผลาญ
- ผลต่อระบบฮอร์โมนและระบบสืบพันธุ์
- เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาทิ วิกฤตไทรอยด์เป็นพิษ
แนวทางการรักษา“โรคไทรอยด์เป็นพิษ”
- การรับประทานยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์ (ยาต้านไทรอยด์)ช่วยออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ขึ้นมาใหม่ ช่วยให้อาการต่างๆที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกายที่สูงเกินหายไป เช่น อาการใจสั่น เหนื่อย น้ำหนักลด
- การกินไอโอดีน-131 หรือที่เรียกกันว่า การกลืนแร่รังสีไอโอดีน เป็นวิธีการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่ได้ผลดี และได้รับการยอมรับทางการแพทย์
- การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือการผ่าตัดออกทั้งหมด
ทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ แต่อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เสียงแหบ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นช่วยให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยลง วิธีนี้ช่วยให้อาการต่างๆ หายไป
เทคโนโลยีการรักษาโรคไทรอยด์ “การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก”
เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ทำได้ใกล้กับตำแหน่งของต่อมไทรอยด์มากที่สุด ทำให้มีความเสี่ยงน้อย เสียเลือดน้อย ลดการบาดเจ็บทั้งการที่เส้นประสาทถูกตัดขาดและเส้นประสาทช้ำหลังผ่าตัดได้ดี ใช้เวลาน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวไว สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
การตรวจคัดกรองความเสี่ยงไทรอยด์ จึงมีความสำคัญในการช่วยรักษาและดูแลผู้ป่วยในระยะยาว หากตรวจพบว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ” ผู้ป่วยควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อ เพื่อการรักษาอย่างเหมาะสม กับสภาวะของแต่ละบุคคล เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว
แพ็กเกจแนะนำ
โปรโมชั่น ฝากครรภ์ – คลอด สุดคุ้ม!
สิทธิประกันสังคม ม.33 และ 39 รักษาโรคหัวใจ 7 หัตถการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้องสำรองจ่าย
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingrix Vaccine)
แพ็กเกจ ตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
รักษาก้อนเต้านม ด้วยการจี้เย็น (Cryoablation)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 15 สายพันธุ์
แพ็กเกจ รักษาภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย (Enantone)
แพ็กเกจ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Liquid Prep Test)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
รักษาภูมิแพ้ น้ำมูกไหลเรื้อรัง ด้วยการจี้เย็น (Nasal Cryosurgery)
แพ็กเกจ Health Check
แพ็กเกจ เลเซอร์กระชับช่องคลอด
บทความสุขภาพอื่นๆ
รู้ทันความเสี่ยง “โรคไทรอยด์”
“ต้อกระจก” ภัยเงียบ ที่อาจพรากการมองเห็น หากไม่รีบรักษา
โรคหลอดเลือดหัวใจ : ภัยเงียบที่ต้องระวัง ปล่อยไว้เสี่ยงเสียชีวิตสูง
ปรับเก้าอี้อย่างไรให้ถูกต้อง? ลดอาการปวดจาก Office Syndrome
สู้งาน แต่ปวดหลัง : ออฟฟิศซินโดรมสู้กลับ
รู้เท่าทัน “ผดร้อนในทารก” ปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน
ไขมันในเลือดสูง: สารตั้งต้นสู่โรคร้ายที่ควรรู้
โรคหัวใจโต (Cardiomegaly) รู้เท่าทันก่อนสายเกินไป
“โรคหัวใจ” ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในผู้ป่วยเบาหวาน
“ปวดขา” หลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน แผ่นดินไหว? แพทย์แนะวิธีดูแลกล้ามเนื้ออักเสบที่คุณทำเองได้
ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Total Knee Arthroplasty )
“แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ในเด็ก”…ตัวช่วยป้องกันฟันผุ
เทคโนโลยีใหม่! อองโคเทอร์เมีย (Oncothermia) ทางรอดผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
ทำไม? ค่า HbA1c ในผลตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญ
รักษามะเร็งปากมดลูกด้วย Oncothermia: นวัตกรรมคลื่นความร้อนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
ไขข้อสงสัย: ความแตกต่างของ “โพรไบโอติก VS พรีไบโอติก”คือ ?
มาทำความรู้จัก “ไข้อีดำอีแดง”
โรคเก๊าท์…ภาวะที่ทำให้เราปวดข้อ!
วัคซีน “ไข้หวัดใหญ่” ในเด็กและผู้ใหญ่ ฉีดต่างกันอย่างไร?
อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ รับประทานอย่างไร ให้ห่างไกลโรค
VDO ความรู้สุขภาพ
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
บทความโดย

แพทย์หญิง วลัยพร เลาหวินิจ
เฉพาะทางอายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิซึม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ (Diabetes, Thyroid and Endocrine Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 กด 2 หรือ *2921-3