โรคไอกรน หรือ Pertussis เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis โรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านทางละอองน้ำลายจากการไอหรือจาม การติดเชื้อเกิดขึ้นได้ทุกวัย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็ก เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงและยังได้รับวัคซีนไม่ครบ ส่วนผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันกระตุ้นหรือมีโรคประจำตัว ก็สามารถมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน อาการของโรคไอกรนมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า “ไอเป็นชุด” และ “ไอเสียงวู้ป (whooping cough)” ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาการของโรคไอกรน
โรคไอกรนมีระยะฟักตัวประมาณ 7-10 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะเริ่มต้น (Catarrhal stage)
อาการในช่วงนี้มักคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก มีไข้ต่ำ และไอเล็กน้อย ช่วงนี้ยังไม่แสดงอาการเฉพาะของโรคไอกรน แต่มีการแพร่กระจายเชื้อได้มากที่สุด
ระยะไอเป็นชุด (Paroxysmal stage)
เป็นระยะที่อาการไอจะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะไอเป็นชุดหลายครั้งติดกัน แล้วตามด้วยเสียงหายใจเข้าที่ดัง “วู้ป” เกิดจากการพยายามหายใจเข้าหลังจากการไอที่รุนแรง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ช่วงนี้เป็นช่วงที่อาการรุนแรงที่สุดของโรคและอาจกินเวลาหลายสัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือปอดบวม ในเด็กเล็กสามารถพบภาวะหยุดหายใจ ความดันในปอดสูง และเสียชีวิตฉับพลันได้ ส่วนในผู้ใหญ่อาจหมดสติ หรือไอมากจนซี่โครงหักได้
ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage)
ระยะนี้อาการไอจะเริ่มลดลง แม้จะมีไอบ้างแต่จะค่อยๆดีขึ้นจนหายขาด แต่การฟื้นตัวอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน
การติดต่อของโรคไอกรน
ไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม สามารถพบได้ทั้งปี ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้
วิธีป้องกันโรคไอกรน
การป้องกันโรคไอกรนที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ซึ่งอยู่ในวัคซีนรวม DTP เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน โดยในประเทศไทย เด็กเล็กจะได้รับวัคซีนตามตารางการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข เมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 18 เดือน และ 4-6 ปี นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนสำหรับโรคไอกรนโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่ม เด็กโตและผู้ใหญ่ควรได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนอย่างน้อย 1 ครั้ง และหญิงตั้งครรภ์ควรรับวัคซีนไอกรนทุกการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สามเพื่อส่งต่อภูมิคุ้มกันไปยังทารก
อย่างไรก็ตาม การได้รับวัคซีนหรือแม้แต่การติดเชื้อไอกรนเอง ไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนตลอดชีวิต ภูมิคุ้มกันจะลดลงตามเวลา จึงควรมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและใช้มาตราการป้องกันการติดเชื้ออื่นๆร่วมด้วย
การรักษาโรคไอกรน
หากสงสัยว่ามีอาการไอกรน ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม โดยทั่วไป การรักษาไอกรนจะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ และในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาลดอาการไอเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการไอ
ข้อควรระวังและการดูแลตนเอง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอหรือจาม
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะหรือมีอาการไอ
- ล้างมือเป็นประจำเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนกระตุ้น โดยเฉพาะในผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุที่ภูมิคุ้มกันลดลง
ไอกรนเป็นโรคที่มีอาการรุนแรงและอาจก่อให้เกิดอันตรายโดยเฉพาะในเด็กเล็ก การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุด รวมถึงการดูแลสุขอนามัยที่ดี และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้น การมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรนจะช่วยให้เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้
แพ็กเกจแนะนำ
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingrix Vaccine)
แพ็กเกจ ตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
รักษาก้อนเต้านม ด้วยการจี้เย็น (Cryoablation)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 15 สายพันธุ์
แพ็กเกจ รักษาภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย (Enantone)
แพ็กเกจ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Liquid Prep Test)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
รักษาภูมิแพ้ น้ำมูกไหลเรื้อรัง ด้วยการจี้เย็น (Nasal Cryosurgery)
แพ็กเกจ Health Check
แพ็กเกจ เลเซอร์กระชับช่องคลอด
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
แพ็กเกจ ทดสอบภูมิแพ้ในเด็ก
บทความสุขภาพอื่นๆ
ไวรัสโรต้า อันตรายใกล้ตัวลูกรัก
hMPV เชื้อไวรัสตัวร้าย ที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง
รู้ทันสัญญาณอันตราย “ โนโรไวรัส (Norovirus) “
รู้ทัน “ไวรัสอะดิโน (Adenovirus)” โรคใกล้ตัวลูกน้อย
PCOS ถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภัยเงียบใกล้ตัวผู้หญิงอย่างวางใจ
“ไอกรน” โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่ต้องรู้จักและป้องกัน
เทคโนโลยี Oncothermia กับการรักษาโรคมะเร็งตับ การผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับการรักษาแผนปัจจุบัน
สัญญาณเตือน! โรคเบาหวานขึ้นตา
ปัญหาใหญ่หญิงสูงวัย “ช่องคลอดหย่อน” เป็นแล้วรักษาอย่างไร?
โรคภูมิแพ้ขึ้นตา อันตรายกว่าที่คิด
การรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วย Oncothermia : ทางเลือกใหม่ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ ความเจ็บปวดใกล้ตัวผู้หญิง
ทำไม? เราถึงควรฉีดวัคซีน HPV
ฝ้าบนใบหน้า มีกี่ชนิด?
“Nasal Cryosurgery” รักษาภูมิแพ้ด้วยความเย็น
“Oncothermia” เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง
เช็กด่วน! ปวดประจำเดือนมากจนผิดสังเกตอาจเสี่ยงโรคอะไรบ้าง?
“โรคหนองใน” โรคที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก ผ่านกล้อง Endoscope
การใช้ออกซิเจนแรงดันสูง (HBOT) ในการรักษามะเร็ง
VDO ความรู้สุขภาพ
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
บทความโดย
แพทย์หญิง พุทธธิดา เฉตวงษ์
กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์กุมารเวช (Advanced Pediatric Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02-836-9999 กด 3 หรือ ต่อ *2721-2