หมายเหตุ :
● ราคาสำหรับคนไทย
‘นอนกรน’ เรื่องธรรมดา ที่เสี่ยง ‘ตาย’ รักษาได้ไหม?
“การนอนกรน” ปัญหาน่าหนักใจในขณะหลับ ที่อาจเป็นสัญญานเตือนปัญหาด้านสุขภาพร้ายแรงถึงชีวิต!
นอนกรน เกิดได้อย่างไร?
การนอนกรนนั้น เกิดได้ในหลายช่วงอายุ ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เพราะในขณะที่หลับนั้น กล้ามเนื้อในช่องปากจะคลายตัวลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ส่งผลให้ช่องคอแคบลง ซึ่งนี่คืออาการปกติที่จะเกิดในขณะหลับและจะไม่เกิดปัญหาในคนปกติทั่วไป แต่ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะเกิด “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น” นั้น ทางเดินหายใจจะแคบกว่าปกติมาก ทำให้เกิดการหายใจเข้าออกที่แรงขึ้นผิดปกติ เพราะลมหายใจเดินทางไปยังหลอดลมและปอดได้ลำบาก ส่งผลให้ระดับออกซิเจนที่จะเข้าไปในปอดและหลอดลมไม่เพียงพอ เมื่อสมองรับรู้ถึงการหายใจที่ผิดปกติ จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการหายใจ จึงออกมาเป็นในลักษณะการหายใจเฮือกใหญ่คล้ายคนจมน้ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ นับสิบครั้งในแต่ละคืน
อาการบ่งชี้ อาจเป็น ‘โรคหยุดหายใจขณะหลับ’
แม้ว่าการกรนนั้น จะเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” จะมีอาการดังนี้
- นอนกรนดังมาก
- ลักษณะเสียงกรนหยุดเป็นบางช่วงแล้วตามด้วยเสียงหายใจเฮือกคล้ายคนจมน้ำ ที่แสดงถึงการหยุดหายใจไปชั่วขณะ
- นอนหลับไม่เต็มอิ่ม ไม่สดชื่น แม้พักผ่อนเพียงพอ
- สมาธิสั้น ความจำแย่ลง
- ปวดศีรษะเป็นประจำตอนเช้า
- ง่วงนอนระหว่างวันมากผิดปกติ
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
‘โรคหยุดหายใจขณะหลับ’ เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้คุณภาพการนอนไม่ดี นอนหลับได้ไม่ต่อเนื่อง กลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย สุขภาพจิตพัง สมาธิสั้น ความจำไม่ดี และยังทำให้การเผาผลาญอาหารของร่างกายแย่ลง ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา อาทิ โรคที่เกี่ยวกับสมองและหลอดเลือดหัวใจ อย่างโรคความดันโลหิตสูง ภาวะกล้ามเนื้อตายเฉียบพลัน โรคหัวใจล้มเหลว โรคซึมเศร้า โรคเบาหวาน เส้นเลือดในสมองแตก และยังทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงส่งผลให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ตรวจคัดกรองความเสี่ยงขณะหลับ หรือ Sleep Test บอกอะไรเราได้บ้าง
จะเห็นแล้วว่า ภาวะการหยุดหายใจ เป็นความอันตรายที่เกิดขึ้นในขณะหลับ และเราไม่ได้มีสติรู้ตัวเท่าเวลาปกติ ดังนั้น การตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ หรือ Sleep Test จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยการตรวจสอบภาวะการนอนหลับนั้นจะช่วยตรวจสอบในเรื่องของภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ คลื่นสมองขณะหลับ การกัดฟัน การกระตุกร่างกายส่วนต่าง ๆ ที่จะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้ในการรักษาต่อไปได้
แนวทางการรักษา
การรักษาจะแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือส่วนของผู้ที่มีอาการหนักถึงขั้นมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่อาจต้องใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) ใส่นอนทุกคืน โดยเครื่องจะมีหลักการทำงานแบบ “เป่าลม” เพื่อเข้าไปถ่างช่องทางเดินหายใจให้ไม่มีกล้ามเนื้อในช่องปากลงมาปิดทางอีก
แต่ในรายที่อาการไม่รุนแรงนัก มีเสียงกรนที่ไม่ได้ดังจนผิดปกติ หรืออัตราการหยุดหายใจต่อคืนไม่มากจนน่ากังวลก็สามารถที่จะเลือกใช้การใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรม ที่จะช่วยจัดตำแหน่งลิ้นหรือขากรรไกร ป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หรือวิธีที่ง่ายและใช้เวลารวดเร็วอย่าง “เลเซอร์ลดเสียงนอนกรน” โดยการเลเซอร์จะเข้าไปช่วยลดการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อภายในช่องปากที่จะลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ บ่อเกิดของปัญหาการกรนเสียงดัง โดยจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อครั้ง แต่คุณภาพการรักษายาวนานถึง 2-5 ปี ทำให้การนอนหลับกลับมาเป็นเรื่องง่าย หลับลึก สดชื่นตอนตื่น และลดความอ่อนเพลียของร่างกายระหว่างวัน
การนอนกรน คือสัญญานเบื้องต้นของความอันตรายที่กำลังคืบคลานเข้ามาโดยไม่รู้ตัว แต่เพราะทุกความผิดปกติเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อให้รักษาอาการได้อย่างทันท่วงที
พิเศษ สำหรับผู้มีภาวะหลุดหายใจขณะหลับ รับเครื่องอัดแรงดันอากาศ CPAP กลับไปทดลองใช้ที่บ้าน 7 วัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์นอนกรน เวิลด์เมดิคอล (WMC Sleep Apnea Center)
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)
โทร. 02 836 9999 ต่อ *3921-2