โรคหัวใจโต คืออะไร?
โรคหัวใจโต หมายถึงภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ มักตรวจพบโดยการเอกซเรย์ทรวงอก หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หากพบว่าหัวใจกว้างมากกว่า 50% ของทรวงอก จะถือว่าอยู่ในเกณฑ์หัวใจโต
โรคนี้มักไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่ ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ความชุกของโรค
- พบผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวประมาณ 5-7% ของประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- มากกว่าครึ่งเป็นแบบที่ หัวใจบีบตัวได้ดีแต่ผ่อนคลายไม่ดี (HFpEF)
- ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยพบมากใน:
- ผู้ชาย
- คนผิวสี (African American)
อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี และประมาณ 50% ของผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 5 ปีหลังได้รับการวินิจฉัยโรค
สาเหตุของโรคหัวใจโต
โรคหัวใจโตไม่ใช่โรคเดี่ยว แต่เป็นภาวะที่เกิดจากโรคหรือปัจจัยต่าง ๆ เช่น:
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ความดันโลหิตสูง
- โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- โรคปอดเรื้อรัง ภาวะอ้วน
- โรคติดเชื้อที่กล้ามเนื้อหัวใจ เช่น กลุ่มไวรัส แบคทีเรีย HIV
- พิษจากแอลกอฮอล์ ยาเสพย์ติด ยาเคมีบำบัด
- ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และต่อมไร้ท่อ
- การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางรุนแรง
- พันธุกรรม
กลไกการเกิดโรค
เมื่อหัวใจทำงานหนักต่อเนื่อง กล้ามเนื้อหัวใจจะหนาตัวหรือขยายตัว ส่งผลต่อการสูบฉีดเลือด เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์และโครงสร้างของหัวใจ เช่น
- กล้ามเนื้อหนาตัว (Hypertrophy)
- ผนังหัวใจบางลง สูบฉีดไม่ดี (Dilatation)
- การนำไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ (Arrhythmias) หัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาการที่ควรระวัง
ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการในระยะแรก แต่เมื่อหัวใจเริ่มล้มเหลว จะมีอาการดังนี้:
- เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อนอนราบ
- ขาบวม ท้องอืด แน่นท้อง
- ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม
- เจ็บแน่นหน้าอก
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคหัวใจโตต้องอาศัยการตรวจหลายอย่างร่วมกัน เช่น:
- เอกซเรย์ทรวงอก ดูขนาดหัวใจ
- อัลตราซาวด์หัวใจ (Echo) ตรวจโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ
- คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจ
- ตรวจเลือด (BNP, Troponin) ประเมินภาวะหัวใจล้มเหลว
- MRI, การสวนหัวใจในรายบางกรณี
การรักษา
- รักษาสาเหตุที่ทำให้หัวใจโต เช่น ควบคุมเบาหวาน ความดัน ไขมัน
- ยา:
- ยาขับปัสสาวะลดบวม
- ACEI/ARB/ARNIช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้น
- Beta-blockerลดภาระหัวใจ
- ยาขยายหลอดเลือด(กรณีเฉพาะ)
- Digoxin, ICD, CRT(ในบางกรณี)
- กรณีรุนแรง อาจต้อง:
- ปลูกถ่ายหัวใจ
- ใส่เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจ (VAD)
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบ
- หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
- หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงเสียชีวิตฉับพลัน
- เกิดลิ่มเลือดเสี่ยงอัมพาต
คำแนะนำสำหรับประชาชน
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้มีความเสี่ยง
- ปรับพฤติกรรม: เลิกบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ลดเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด.
- ตรวจคัดกรองหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
บทบาทของทีมสหวิชาชีพ
การดูแลโรคหัวใจโตควรมีทีมที่ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชนาการ และครอบครัว ช่วยกันวางแผนการรักษาและติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับมาเข้าโรงพยาบาลซ้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
แพ็กเกจแนะนำ
โปรโมชั่น ฝากครรภ์ – คลอด สุดคุ้ม!
สิทธิประกันสังคม ม.33 และ 39 รักษาโรคหัวใจ 7 หัตถการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้องสำรองจ่าย
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Shingrix Vaccine)
แพ็กเกจ ตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
รักษาก้อนเต้านม ด้วยการจี้เย็น (Cryoablation)
แพ็กเกจ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ 15 สายพันธุ์
แพ็กเกจ รักษาภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย (Enantone)
แพ็กเกจ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Liquid Prep Test)
แพ็กเกจ วัคซีน HPV (Gardasil 4 สายพันธุ์)
รักษาภูมิแพ้ น้ำมูกไหลเรื้อรัง ด้วยการจี้เย็น (Nasal Cryosurgery)
แพ็กเกจ Health Check
แพ็กเกจ เลเซอร์กระชับช่องคลอด
บทความสุขภาพอื่นๆ
รู้ทันความเสี่ยง “โรคไทรอยด์”
“ต้อกระจก” ภัยเงียบ ที่อาจพรากการมองเห็น หากไม่รีบรักษา
โรคหลอดเลือดหัวใจ : ภัยเงียบที่ต้องระวัง ปล่อยไว้เสี่ยงเสียชีวิตสูง
ปรับเก้าอี้อย่างไรให้ถูกต้อง? ลดอาการปวดจาก Office Syndrome
สู้งาน แต่ปวดหลัง : ออฟฟิศซินโดรมสู้กลับ
รู้เท่าทัน “ผดร้อนในทารก” ปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน
ไขมันในเลือดสูง: สารตั้งต้นสู่โรคร้ายที่ควรรู้
โรคหัวใจโต (Cardiomegaly) รู้เท่าทันก่อนสายเกินไป
“โรคหัวใจ” ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในผู้ป่วยเบาหวาน
“ปวดขา” หลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน แผ่นดินไหว? แพทย์แนะวิธีดูแลกล้ามเนื้ออักเสบที่คุณทำเองได้
ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Total Knee Arthroplasty )
“แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ในเด็ก”…ตัวช่วยป้องกันฟันผุ
เทคโนโลยีใหม่! อองโคเทอร์เมีย (Oncothermia) ทางรอดผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร
ทำไม? ค่า HbA1c ในผลตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญ
รักษามะเร็งปากมดลูกด้วย Oncothermia: นวัตกรรมคลื่นความร้อนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
ไขข้อสงสัย: ความแตกต่างของ “โพรไบโอติก VS พรีไบโอติก”คือ ?
มาทำความรู้จัก “ไข้อีดำอีแดง”
โรคเก๊าท์…ภาวะที่ทำให้เราปวดข้อ!
วัคซีน “ไข้หวัดใหญ่” ในเด็กและผู้ใหญ่ ฉีดต่างกันอย่างไร?
อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ รับประทานอย่างไร ให้ห่างไกลโรค
VDO ความรู้สุขภาพ
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
‘ฝากไข่’ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม ลดเสี่ยงมีลูกยากในอนาคต
“Endotine” โปรแกรมยกกระชับใบหน้า
เมื่อ “พี่พีท”-กันตพร เป็น…ภูมิแพ้ไรฝุ่น!! จะรักษาอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนกันนะ!?
บทความโดย

แพทย์หญิง กาญจนา อักษรวรนารถ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์หัวใจ (Heart Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC )
โทร 02-836-9999 กด 2 หรือ *2821