โรคลมชัก (Epilepsy) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ ลมบ้าหมู คือภาวะที่ระบบประสาทเกิดการทำงานผิดปกติ และมีการปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าออกมาจนเกิดอาการชัก (Seizures) โดยอาจแสดงอาการต่างกันออกไปตามความผิดปกติของเซลล์สมองส่วนนั้นๆ เช่น ตัวเกร็ง ร่างกายกระตุก สูญเสียการรับรู้ชั่วขณะ เหม่อลอย ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ชักรุนแรงจนล้มลงและหมดสติ เป็นต้น
อาการลมชัก
สามารถแสดงอาการได้หลายแบบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.อาการชักเฉพาะที่ (Partial Seizures)
เกิดจากกระแสฟ้าที่ผิดปกติส่งไปยังสมองส่วนนั้นๆ ทำให้เกิดอาการต่างกัน เช่น เกร็งกระตุกบริเวณใบหน้า ปาก กล้ามเนื้อแขนขา ใจสั่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน ขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่รบกวนการทำงานของสมองที่ควบคุมร่างกายส่วนนั้นๆ
2.อาการชักกระตุกทั้งตัว (Generalized Seizures)
เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติกระจายไปยังทั่วสมอง มักเกิดเฉียบพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือน ผู้ป่วยมักมีอาการหมดสติทันที ชักกระตุกทั้งตัว แขนขาเกร็ง น้ำลายไหล กัดลิ้น ปัสสาวะราด
สาเหตุของโรคลมชัก
- ความผิดปกติทางสมอง เช่น ศีรษะหรือสมองได้รับการบาดเจ็บ มีเนื้องอกในสมอง ติดเชื้อในสมอง
- เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดสมองอุดตัน
- โรคทางพันธุกรรมที่มีอาการชักร่วมด้วย
- ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า
- การใช้ยาเสพติด โคเคน
- ขาดการนอนหลับ
- โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุ ขาดรอยโรคในสมอง
แนวทางการรักษา
แพทย์จะต้องวินิจฉัยสาเหตุของการชักก่อน เพื่อทำการรักษาให้ถูกต้อง เช่น
- ให้ยากันชัก
- บำบัดด้วยอาหาร
- การผ่าตัด ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมด้วยยากันชัก หรือพบรอยโรคที่สามารถผ่าตัดได้
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยลมชักที่ถูกต้อง
- ผู้ปฐมพยาบาลตั้งสติ ประเมินสถานการณ์ ให้มั่นใจว่าสถานที่ปลอดภัย
- ไม่เอาสิ่งของเข้าปากผู้ป่วยเด็ดขาด โดยเฉพาะวัตถุที่มีความแข็ง เช่น ด้ามช้อน ตะเกียบ เพราะทำผู้ป่วยสำลักได้
- จัดท่าทางของผู้กดให้ถูกต้อง โดยจัดให้นอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง
- คลายเสื้อผ้าผู้ป่วยให้หลวม อากาศถ่ายเท
- โทรแจ้ง 1669
ข้อห้ามและคำแนะนำเพิ่มเติม
- ไม่เอาสิ่งของใดๆ เข้าปากผู้ป่วย ทั้งวัตถุ อาหาร ยา เพราะทำให้สำลักและอันตรายถึงชีวิตได้
- ไม่กดแขน ขา ลำตัวของผู้ป่วย ไม่มัดมือหรือแขนขา โดยเฉพาะขณะมีอาการชัก เพราะทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ
- ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ควรอยู่ใกล้ๆเพื่อสังเกตอาการ
- หากเกิดเหตุในที่สาธารณะ ไม่ให้มีการมุงดู เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
แนวทางปฏิบัติของผู้ป่วยลมชัก
- รับประทานยาให้ครบ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ ไม่หยุดยาเองเด็ดขาด
- เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่กระตุ้นอาการ เช่น การอดนอน ความเครียด ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด
- เลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายเมื่ออาการชัด เช่น ใช้งานของมีคม งานช่าง งานเครื่องกล เครื่องจักร ก่อสร้าง กิจกรรมทางน้ำ
- พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ
การดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยหลังการรักษา
แม้โรคลมชักจะเป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา และในบางรายสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่โรคนี้อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วย โดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการชักในที่สาธารณะ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อับอาย หรือถูกมองว่าแตกต่างจากคนทั่วไป
ด้วยลักษณะของอาการที่เห็นได้ชัดและเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด การแสดงออกของคนรอบข้างจึงมีความสำคัญมาก สังคมควรเรียนรู้และเข้าใจโรคลมชักการเข้าใจและให้กำลังใจอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย ไม่รู้สึกแปลกแยก
แพ็กเกจแนะนำ
แพ็กเกจ ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low-dose CT scan
รักษา”นอนกรน” ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธ์ุ
แพ็กเกจ ตรวจประเมินภาวะเด็กโตก่อนวัย
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพและฮอร์โมน
แพ็กเกจ รักษามีบุตรยาก (การย้ายตัวอ่อนรอบสด)
แพ็กเกจ รักษามีบุตรยาก (การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง)
แพ็กเกจ ฝากไข่ (Eggs Freezing)
แพ็กเกจ ผ่าตัดต่อหมันหญิง
ฟอกไต อุ่นใจ ทุกสิทธิการรักษา เลือกโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
แพ็กเกจ ผ่าตัดต้อกระจก
โปรโมชั่น ฝากครรภ์ – คลอด สุดคุ้ม!
สิทธิประกันสังคม ม.33 และ 39 รักษาโรคหัวใจ 7 หัตถการ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ไม่ต้องสำรองจ่าย
เทคโนโลยีใหม่ Oncothermia ทางรอด! ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
แพ็กเกจ ตรวจสุขภาพหัวใจ
ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope “พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย”
รักษามะเร็งก้าวหน้าครอบคลุมทุกมิติ ทางเลือกใหม่คืนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
หายใจโล่ง บอกลาภูมิแพ้ ด้วยเทคโนโลยี Coblator
แพ็กเกจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย
ประกันสังคมทุกโรงพยาบาล ทำฟันที่ WMC ไม่ต้องสำรองจ่าย
บทความสุขภาพอื่นๆ
‘โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน’ รู้ทันสัญญาณเตือน ป้องกันก่อนเกิดอัมพาต
รู้ทัน “ลมชัก” เข้าใจโรค เข้าใจคน ลดความเสี่ยง
โรคไต…ภัยเงียบที่แฝงมากับเบาหวาน
เบาหวาน โรคหวานๆที่(ร้าย)ไม่เบา
‘ต้อลม’ เรื่องของตา ที่อย่ามองข้าม
รู้ทัน’ต้อเนื้อ’ก่อนลุกลาม! เจาะลึกปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน และทางเลือกการรักษา
การวินิจฉัยและการรักษามะเร็งปอด
ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath Lab)
รู้จัก “ไลเค่น อะไมลอยโดซิส” โรคผิวหนังที่คันไม่เลิก
ฟันผุ ไม่รีบรักษา…อันตรายกว่าที่คิด
สิวในช่วงตั้งครรภ์ ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์
ธาราบำบัด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ สัมผัสความผ่อนคลายจากธรรมชาติ… เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งของแม่และลูก
เบาแรงข้อ…คลายปวดกล้ามเนื้อ ด้วยพลังบำบัดจากน้ำ
รู้ทันความเสี่ยง “โรคไทรอยด์”
“ต้อกระจก” ภัยเงียบ ที่อาจพรากการมองเห็น หากไม่รีบรักษา
โรคหลอดเลือดหัวใจ : ภัยเงียบที่ต้องระวัง ปล่อยไว้เสี่ยงเสียชีวิตสูง
ปรับเก้าอี้อย่างไรให้ถูกต้อง? ลดอาการปวดจาก Office Syndrome
สู้งาน แต่ปวดหลัง : ออฟฟิศซินโดรมสู้กลับ
รู้เท่าทัน “ผดร้อนในทารก” ปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามในหน้าร้อน
ไขมันในเลือดสูง: สารตั้งต้นสู่โรคร้ายที่ควรรู้
VDO ความรู้สุขภาพ
สัมมนาพิเศษ เรื่อง : STOP! STROKE หยุดให้ทัน ก่อนอัมพาตตลอดชีวิต
สัมมนาพิเศษ :สัญญาณเตือนจากมดลูก ไขความลับเนื้องอก ซีสต์ ถุงน้ำรังไข่ และมะเร็ง
สัมมนาพิเศษ เรื่อง : ” ก้าวทันเทคโนโลยีหัวใจ : รักษาเร็ว ลดเสี่ยง ลดการเสียชีวิต”
ปวดคอ บ่าไหล่ หลัง
พามาสูดอากาศบริสุทธิ์ 100 % โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
กายภาพบำบัดผู้สูงวัย
5 เหตุผล ทำไม ต้องเลือก ” ฟอกไต” ที่โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ทำความรู้จัก ! ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
เมื่อหมอกระดูก ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
WMC Live หัวข้อ “Oncothermia เทคโนโลยีใหม่กับการรักษามะเร็ง ”
WMC Live “บอกลา..แผลเป็น”
WMC Live หัวข้อ “มะเร็งคืออะไร?”
หนังตาตกในผู้สูงอายุ
รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยเลเซอร์
ตาสองชั้นและตัดแต่งไขมันเปลือกตา
หินปูนเต้านม แบบไหนเสี่ยง มะเร็งเต้านม
ตรวจสุขภาพตับด้วยเทคโนโลยีตรวจหาพังผืดและไขมันในตับ Fibro Scan
คุณพีท-กันตพร ทำสปาตา (Eyelid spa) ขจัดไขมันเปลือกตา กำจัดไรขนตา
ก้อนเต้านมชนิดดี เข็มดูดออกได้ ไม่ต้องผ่าตัด
“แน็ก” ชาลี หายใจโล่งงงงง
บทความโดย

แพทย์หญิง พิมลพรรณ วิเสสสาระกูล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์สมองและระบบประสาท (Neurological Center) ชั้น 2
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ( WMC )
โทร.02-836-9999 กด 2 หรือ ต่อ *2921